โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ในโรงเรียนรัฐบาลสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา : การวิเคราะห์กลุ่มพห

Main Article Content

เจนภพ ชัยวรรณ
ถนอมวรรณ ประเสริฐเจริญสุข
ภัทราวดี มากมี

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนของนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงผสมผสานแบบแผนเชิงอธิบายรูปแบบติดตาม
ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างรูปแบบ โดยการศึกษาเอกสาร และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 2) การตรวจสอบ
ความสอดคล้องของรูปแบบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารและครู ในสํานักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาทั่วประเทศ โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จํานวน 1,189 คน ด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์
ข้อมูลด้วยสถิติ SEM ด้วยโปรแกรม Mplus 7.00 3) วิเคราะห์กลุ่มพหุระหว่างโรงเรียนประถมศึกษาปกติกับโรงเรียน
ขยายโอกาสทางการศึกษา ด้วยโปรแกรม Mplus 7.00 4) ศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหาร
และครู จํานวน 46 คนจาก 10 โรงเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ประกอบตัวแปรแฝง
จํานวน 4 ตัว ซึ่งสามารถวัดได้จากตัวแปรสังเกตได้ จํานวน 21 ตัว 2 ) รูปแบบที่สร้างขึ้น มีความสอดคล้องกับข้อมูล
เชิงประจักษ์ อยู่ในเกณฑ์ดี โดยมีค่าสถิติ ดังนี้ X2= 58.831, df = 45, p-value = 0.080,
/df = 1.307, CFI =1.000, TLI = 0.999,RMSEA =0.016, SRMR = 0.007 โดยตัวแปรแฝงในรูปแบบสามารถอธิบายความแปรปรวนของ
ตัวแปรแฝงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ร้อยละ 79.20 โดยมี ตัวแปรที่ส่งอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ดังนี้ 1)
ประสิทธิภาพโดยรวมของครูส่งอิทธิพลทางตรงมากที่สุด รองลงมาคือ ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลง และชุมชนแห่งการ
เรียนรู้ทางวิชาชีพ 2) ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงส่งอิทธิพลทางอ้อมผ่น
ประสิทธิภาพโดยรวมของครู ตามลําดับ 3) ประสิทธิภาพโดยรวมของครูสงอิทธิพลรวมมากที่สุด รองลงมาคือชุมชน
แห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพและภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลง ผลการวิเคราะห์กลุ่มพหุ พบว่าไม่มีความแปรเปลี่ยนของ
โมเดล ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า ปัจจัยที่สองผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมากที่สุด คือ ด้านตัวครู
(ประสิทธิภาพโดยรวมของครู) ด้านตัวครูและตัวผู้บริหารร่วมกัน (ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ) ด้านตัวผู้บริหาร
(ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลง) ด้านตัวนักเรียน ด้านครอบครัวและสิ่งแวดล้อม ด้านความพร้อมของโรงเรียน และด้าน
นโยบายของรัฐบาลและหน่วยงานต้นสังกัดและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตามลําดับ

Article Details

Section
บทความวิจัย