องค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณลักษณะของผู้บริหารสตรีทางการศึกษาที่เอื้อต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณลักษณะของผู้บริหารสตรีทางการศึกษาที่เอื้อต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงตามสภาพจริงของตัวชี้วัดคุณลักษณะของผู้บริหารสตรีทางการศึกษาที่เอื้อต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้วิจัยดำเนินการวิจัย โดยศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสัมภาษณ์ผู้รู้และผู้มีประสบการณ์ และจัดสนทนากลุ่ม (Focus group) เพื่อกำหนดเป็นองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ นำมาสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงของเนื้อหาโดยการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญ 7 คน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถาม อยู่ระหว่าง 0.80 – 1.00 และค่าความเชื่อมั่น ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) มีค่าเท่ากับ .96 กลุ่มเป้าหมาย คือผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการสถานศึกษาที่เป็นสตรี ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 950 คน นำมาวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) สลัดปัจจัยเพื่อพิจารณาจัดกลุ่มตัวแปรด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก และหมุนแกนแบบออโธโกนอล ด้วยวิธีวาริแมกซ์ จากนั้นผู้ใช้ได้นำตัวบ่งชี้ที่ได้จากการดำเนินการข้างต้น มาสร้างแบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มผู้รู้แจ้งชัด คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษาสตรี ที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 45 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test
ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณลักษณะของผู้บริหารสตรีทางการศึกษา ที่เอื้อต่อ
ความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ 72 ตัวบ่งชี้ สามารถอธิบายความ
แปรปรวนของตัวบ่งชี้ได้ร้อยละ 62.50 เรียงตามค่าร้อยละของการอธิบายความแปรปรวนจากมากไปหา
น้อยตามลำดับ คือ 1) ด้านบุคลิกภาพ อธิบายความแปรปรวนได้สูงสุด ร้อยละ 21.59 มี 9 ตัวบ่งชี้ 2) ด้านภาวะผู้นำ อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 10.08 มี 9 ตัวบ่งชี้ 3) ด้านการสื่อสาร อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 7.84 มี 9 ตัวบ่งชี้ 4) ด้านการตัดสินใจ อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 4.93 มี 8 ตัวบ่งชี้ 5) ด้านมนุษย์สัมพันธ์ อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 4.75 มี 8 ตัวบ่งชี้ 6) ด้านการมีส่วนร่วม อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 4.10 มี 8 ตัวบ่งชี้ 7) ด้านการบริหารความขัดแย้ง อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 3.95 มี 8 ตัวบ่งชี้ 8) ด้านการทำงานเป็นทีม อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 3.47 มี 7 ตัวบ่งชี้ และ 9) ด้านการเปลี่ยนแปลงเพื่อความสำเร็จ อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 3.36 มี 6 ตัวบ่งชี้ จากการนำตัวบ่งชี้ ที่ค้นพบไปทดสอบกับกลุ่มผู้รู้แจ้งชัดปรากฏว่า มีนัยสำคัญทางสถิติทุกตัวบ่งชี้ ซึ่งสามารถยืนยันได้ว่าตัวบ่งชี้ ทั้ง 72 ตัว มีความเที่ยงตรงตามสภาพจริง