การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในศตวรรษที่ 21 สังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
Abstract
การวิจัยเรื่อง “การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในศตวรรษที่ 21 สังกัด องค์กรปกครองท้องถิ่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยดังนี้ 1 )เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในศตวรรษที่ 21 สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 2) เพื่อทดสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้าง กับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 454 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ องค์ประกอบด้านสมรรถนะหลัก องค์ประกอบด้านสมรรถนะการบริหารจัดการ และองค์ประกอบด้านสมรรถนะส่วนบุคคล โดยมีองค์ประกอบย่อยจำนวน 16 ตัว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.60 -1.00 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์การแปรผัน ความเบ้ ความโด่ง ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และการวิเคราะห์องค์ประกอบ
ผลการวิจัยสรุป ดังนี้
- ผลการพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในศตวรรษที่ 21 พบว่า มีองค์ประกอบหลัก 3 องค์ประกอบ 16 องค์ประกอบย่อย 118 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ด้านสมรรถนะหลัก มีองค์ประกอบย่อย 4 องค์ประกอบ มีตัวบ่งชี้ 37 บ่งชี้ 2) ด้านสมรรถนะการบริหารจัดการ มี 8 องค์ประกอบย่อย มีตัวบ่งชี้ 52 ตัวบ่งชี้ 3) ด้านสมรรถนะส่วนบุคคลมี 4 องค์ประกอบย่อย มีตัวบ่งชี้ 29 ตัวบ่งชี้
- 2. ผลการทดสอบความสอดคล้องของโมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวบ่งชี้สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในศตวรรษที่ 21 สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยพิจารณาจาก ค่า x2= 34.158, df = 36, p-value = 0.556, RMSEA = 0.000, CFI = 1.000, TLI = 1.001, SRMR = 0.007 การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของโมเดลตัวบ่งชี้สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์