แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะภายในที่ส่งผลต่อความสําเร็จในการปฏิบัติงาน ของครู สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา

Main Article Content

ประชารัฐ วงศ์ขํา
ไพศาล หวังพานิช
ศิริ เจริญวัย
จําเริญรัตน์ จิตต์จิรจรรย์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะภายในที่ส่งผลต่อความสําเร็จในการปฏิบัติงานของ
ครู สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา และ 2) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะ
ภายในสําคัญที่ส่งผลต่อความสําเร็จในการปฏิบัติงานของครู วิธีดําเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1
การศึกษาคุณลักษณะภายในที่ส่งผลต่อความสําเร็จในการปฏิบัติงานของครู ดําเนินการโดยใช้แบบสอบถามไปเก็บ
ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา
จํานวน 891 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น วิเคราะห์ข็อมูลโดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูป เพื่อหาค่าเฉลี่ย
เบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณ ขั้นตอนที่ 2 การหาแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะภายในที่
ส่งผลต่อความสําเร็จในการปฏิบัติงานของครู ดําเนินการโดยการจัดสนทนากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 9 คน
ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของร่างแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะภายในที่จัดทําขึ้น และ ขั้นตอนที่ 3 การ
ประเมินความเหมาะสมของแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะภายในที่ส่งผลต่อความสําเร็จในการปฏิบัติงานของครู
จากผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1-7 จํานวน 70 คน
ผลการวิจัยพบว่า
1. คุณลักษณะภายในที่ส่งผลต่อความสําเร็จในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษานครราชสีมา มี 3 ประการ เรียงตามค่านำ้หนักของตัวแปรที่ส่งผลต่อความสําเร็จใน การปฏิบัติงาน
คือ แรงจูงใจ บทบาททางสังคม และลักษณะประจําตัว โดยที่แรงจูงใจเป็นคุณลักษณะภายในหลักที่ร่วมกับบทบาท
ทางสังคม และลักษณะประจําตัวที่ส่งผลต่อความสําเร็จในการปฏิบัติงานของครู เพราะคุณลักษณะภายในทั้ง 3
ประการ มีความสัมพันธ์กันสูง
2. แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะภายในที่ส่งผลต่อความสําเร็จในการปฏิบัติงานของครู เป็นสาระของแนว
ทางการพัฒนาแรงจูงใจเป็นหลัก ซึ่งประกอบด้วย 3 แนวทางย่อย ได้แก่ แนวทางการพัฒนาการยอมรับใน
ผลประโยชน์ตอบแทน แนวทางการพัฒนาการพึงพอใจในลักษณะของงาน และแนวทางการพัฒนาการเชื่อมั่นใน
วัฒนธรรมองค์กร โดยที่แนวทางการพัฒนาดังกล่าวโดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก

Article Details

Section
บทความวิจัย