การพัฒนาตัวบ่งชี้สุขภาวะของโรงเรียนมัธยมศึกษา
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้สุขภาวะของโรงเรียนมัธยมศึกษามี 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาและสำรวจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะของโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยวิเคราะห์แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งสังเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้สุขภาวะของโรงเรียนมัธยมศึกษา นำข้อมูลที่ได้ไปสำรวจความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้สุขภาวะของโรงเรียน โดยสอบถามผู้บริหารโรงเรียน ครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และครูผู้สอน รวม 561 คน นำข้อมูลจากการสำรวจมาวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสํารวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน Confirmatory factor analysis: CFA) ขั้นตอนที่ 2 ประเมินความเหมาะสมของพัฒนาตัวบ่งชี้สุขภาวะของโรงเรียนมัธยมศึกษา และ ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ขององค์ประกอบหลัก และตัวบ่งชี้สุขภาวะของโรงเรียนมัธยมศึกษา จากทรงคุณวุฒิโดยใช้เทคนิคการประชุมอภิปรายแบบพหุลักษณะเพื่อหาฉันทามติ (Multi Attribute Consensus Reaching: MACR) ผลการวิจัย พบว่า สุขภาวะของโรงเรียนมัธยมศึกษา มีองค์ประกอบย่อย 13 องค์ประกอบ มีตัวบ่งชี้ 68 ตัวบ่งชี้