การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนารูปแบบการปฏิบัติการตามนโยบาย พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มเครือข่ายการศึกษาลาดค่าง สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3

Main Article Content

สรัญญา บุดดา
มัณฑนา อินทุสมิต
สวัสดิ์ โพธิวัฒน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการ และแนวทางในการปฏิบัติการตามนโยบายพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการปฏิบัติการตามนโยบายพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กที่มีประสิทธิผล 3) เพื่อประเมินรูปแบบการปฏิบัติการตามนโยบายพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กที่มีประสิทธิผล ของกลุ่มเครือข่ายการศึกษาลาดค่างสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษากลุ่มเครือข่ายการศึกษาลาดค่าง สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลยเขต 3 โดยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) วงจรการวิจัยปฏิบัติการโดยใช้ข้อมูลขับเคลื่อนในการบริหารการศึกษา (Participatory ActionResearch for Educational Leadership Using Data Driven Decision Making to Improve School : D-A-M-R) ตามแนวคิดของJames, Milenkiewicz & Bucknam (2008)  ผลการวิจัยเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการ และแนวทางในการปฏิบัติการตามนโยบายพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มเครือข่ายคุณภาพการศึกษาลาดค่าง สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 พบว่า โรงเรียนมีคุณภาพการศึกษาต่ํา นักเรียนได้เรียนไม่ครบทุกกลุ่มสาระ ครูรับผิดชอบหลายระดับชั้น และสอนทุกกลุ่มสาระ ผู้บริหารโรงเรียนในตําบลลาดค่าง ต้องการจะพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน และปฏิบัติตามนโยบายบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก จึงร่วมมือกับสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาบริหารจัดการโรงเรียน โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) วงจรการวิจัยปฏิบัติการโดยใช้ข้อมูลขับเคลื่อนในการบริหารการศึกษา (D-A-M-R) และเมื่อปฏิบัติการครบ 4 วงรอบ พบว่านักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น


รูปแบบการปฏิบัติการตามนโยบายพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กที่มีประสิทธิผล คือรูปแบบการบูรณาการแบบผสมผสาน ได้แก่ การจัดครูเวียนสอน การสอนแบบคละชั้น และศูนย์การเรียนรู้การประเมินรูปแบบการปฏิบัติการตามนโยบายพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก จากการจัดเวทีพิจารณ์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พบว่ารูปแบบการปฏิบัติการมีประสิทธิผล และการประเมินรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า รูปแบบการปฏิบัติการที่สร้างขึ้นมีความถูกต้อง ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ และความเหมาะสม อยูู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

Section
บทความวิจัย