การตีตราทางสังคมในชุมชนภายใต้วิกฤตการระบาดซ้ำโรคโควิด -19 จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ชมนาถ แปลงมาลย์ อาจารย์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

เสริมสร้างพลัง, สุขภาพ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตีตราทางสังคมในชุมชนภายใต้วิกฤตการระบาดซ้ำของโรคโควิด-19 จังหวัดมหาสารคาม เป็นการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ มีเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสนทนากลุ่ม โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่สุ่มแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 3 กลุ่ม โดยมีเกณฑ์ คือ เป็นผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด 19 หรือเป็นผู้ที่อาศัยในหลังคาเรือนเดียวกับผู้ติดเชื้อหรือเป็นแกนนำชุมชน จำนวน 20 คน แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากแบบสัมภาษณ์และแบบสนทนากลุ่มมาวิเคราะห์เนื้อหาตามวัตถุประสงค์มาวิเคราะห์แบบเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การตีตราทางสังคมในชุมชนมี 3 รูปแบบ คือ 1) การตีตราตนเองของกลุ่มผู้ป่วย พบว่ามีความเครียด เหงา โดดเดี่ยว และมีความวิตกกังวลสูงมากในการติดเชื้อเพราะยังไม่มียารักษาและวัคซีนป้องกันโรค กลัวว่าจะตัวนำเชื้อโรคโควิด 19 มาแพร่สู่คนในครอบครัว รวมทั้งเป็นภาระด้านค่าใช้จ่ายและการดูแลในระยะกักตัว อีกทั้งกลัวว่าชุมชนจะรังเกียจและขับไล่ออกพื้นที่ เพราะจะเป็นต้นเหตุในการแพร่กระจายโรค 2) การตีตราของครอบครัวและคนใกล้ชิดที่รู้สึกว่าผู้ป่วยเป็นภาระด้านค่าใช้จ่าย การดูแลและการรายงานจึงช่วยปกปิดข้อมูล และ3) การตีตราของชุมชนพบว่าประชาชนในชุมชนต่างมีความหวาดกลัวมากขึ้นแบบเหมารวม เนื่องจากมีความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด 19 น้อยและการรับรู้ข้อมูลผ่านสื่อออนไลน์ทำให้เกิดการขัดแย้งในชุมชน การตีตราทางสังคมในชุมชนเกิดจากโรคโควิด 19 เป็นโรคที่เกิดขึ้นใหม่และข้อมูลเกี่ยวกับโรคมีน้อย จึงทำให้คนเกิดรู้สึกกลัวสิ่งที่ไม่รู้และมีการแสดงความรู้สึกกลัวต่อคนอื่นนั้นได้ง่าย ผลกระทบที่เกิดจากการตีตราทางสังคมมีปัจจัยสำคัญมาจากการที่โรคโควิด 19 เป็นโรคที่เกิดขึ้นใหม่จึงทำให้คนมีความรู้ความเข้าใจและการปฏิบัติเกี่ยวกับโรคน้อยและทำให้เกิดความกลัวที่มีต่อการระบาดของโรคได้ง่าย จึงเกิดผลกระทบที่เกิดจากการตีตราทางสังคม 3 ระดับ ดังนี้ 1) ผลกระทบต่อภาวะการเจ็บป่วยทั้งร่างกายและจิตใจ 2) ผลกระทบต่อการทำหน้าที่และเพิ่มภาระกับครอบครัว และ3) ผลกระทบต่อชุมชนโดยชุมชนมีอคติแบบเหมารวมว่าเป็นบุคคลอันตรายนำไปสู่การขัดแย้ง

Author Biography

ชมนาถ แปลงมาลย์, อาจารย์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

อาจารย์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-01