การบริหารจัดการสถานศึกษาแห่งความสุขที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาภายใต้วิถีชีวิตปกติใหม่ โรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดกระบี่

ผู้แต่ง

  • วนิษา ราชนิยม นักศึกษา ปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการสถานศึกษาแห่งความสุข, คุณภาพการศึกษา, ภายใต้วิถีชีวิตปกติใหม่

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับของการบริหารจัดการสถานศึกษาแห่งความสุขของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดกระบี่ 2. เพื่อศึกษาระดับของคุณภาพการศึกษาภายใต้วิถีชีวิตปกติใหม่ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดกระบี่ และ 3. เพื่อศึกษาการบริหารจัดการสถานศึกษาแห่งความสุขที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาภายใต้วิถีชีวิตปกติใหม่โรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดกระบี่ เป็นการวิจัยแบบเชิงปริมาณ มีเครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีกลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดกระบี่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรังกระบี่ จำนวน 269 คน ตามตารางกำหนดขนาดตัวอย่างของ Krejcie & Morgan (1970) การเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น เป็นรายโรงเรียนแล้วสุ่มอย่างง่ายตามสัดส่วน แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากแบบสอบถามมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารจัดการสถานศึกษาแห่งความสุขของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดกระบี่โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̅= 4.24) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ การบริหารกระบวนการ (x̅= 4.36) การบริหารบุคคล (x̅= 4.58) และการบริหารสถานที่ (x̅= 4.07) ตามลำดับ 2) คุณภาพการศึกษาภายใต้วิถีชีวิตปกติใหม่ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̅= 4.25) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยดังนี้ ความพึงพอใจในงานของครู (x̅= 4.33) การรับรู้ประสิทธิผลของโรงเรียน (x̅= 4.32) และผลลัพธ์ด้านการเรียนรู้ของนักเรียน (x̅= 4.10) ตามลำดับ และ3) การบริหารจัดการสถานศึกษาแห่งความสุขที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาภายใต้วิถีชีวิตปกติใหม่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดังนี้ การบริหารกระบวนการ (X2) การบริหารบุคคล (X1) และการบริหารสถานที่ (X3) ตามลำดับ โดยมีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.752 ประสิทธิภาพในการทำนาย (R2) ร้อยละ 56.60 และสามารถเขียนเป็นสมการการถดถอยได้ คือ  = 0.602 + 0.377(x2) + 0.337(x1) + 0.137(x3)

Author Biography

วนิษา ราชนิยม, นักศึกษา ปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

นักศึกษา ปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-27