การพัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อใช้ในการขนส่งสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงปูนา กรณีศึกษา: สารคามฟาร์มปูนา

ผู้แต่ง

  • วรกฤต ช่างจัตุรัส อาจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การพัฒนาและออกแบบ, บรรจุภัณฑ์จากเสื่อกก, เกษตรกรผู้เลี้ยงปูนา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการพัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อใช้ในการขนส่งปูนาสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงปูนาให้มีความแข็งแรงให้เป็นไปตามมาตรฐานชุมชน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีเครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย แบบสำรวจ แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายในการวิจัย จำนวน 15 คน ที่มาจากการเลือกแบบเจาะจง แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากเครื่องมือการวิจัยและเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์ในเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะของบรรจุภัณฑ์แบบใหม่พัฒนาขึ้นจากเสื่อกก รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดบรรจุภัณฑ์ 40×30 ซม. มี 12 ช่อง ช่องละ 10×10 ซม. มีประสิทธิภาพแข็งแรงสามารถปกป้องสินค้า สะดวกในการขนส่ง ใช้วัสดุที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม บรรจุภัณฑ์แบบใหม่มีความแข็งแรงสามารถรับน้ำหนักได้มากกว่าแก้วพลาสติกและสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้หลายครั้งและตรวจสอบปัญหาการทนต่อการใช้งานของบรรจุภัณฑ์โดยใช้มาตรฐานชุมชนในการวัด การทดสอบความแข็งแรงของการถูกกดทับแนวตั้งจะเฉลี่ยน้ำหนักที่รับได้คือไม่เกิน 6 กิโลกรัม และผลน้ำหนักของการทดสอบของการเฉลี่ยแนวนอนคือรับน้ำหนักได้ไม่เกิน 4.5 กิโลกรัม และการทดสอบของแรงดึงสามารถทนน้ำหนักได้เฉลี่ยน้ำหนักไม่เกิน 4 กิโลกรัม และทดสอบการทนความชื้นพบว่าบรรจุภัณฑ์สามารถทนน้ำได้ดีและสามารถนำกับมาใช้ซ้ำได้หลายครั้ง จากการทดสอบทั้งหมดพบว่าบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบสามารถใช้งานได้จริงและมีประสิทธิภาพ

Author Biography

วรกฤต ช่างจัตุรัส, อาจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

อาจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-28