มาตรการป้องกันการถูกหลอกลวงให้ทำนิติกรรมในผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • สกุนา ทิพย์รัตน์ อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

รูปแบบการหลอกลวง, นิติกรรมในผู้สูงอายุ, มาตรการป้องกันการหลอกลวง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษารูปแบบการถูกหลอกลวงให้ทำนิติกรรมในผู้สูงอายุ และ 2. เพื่อเสนอมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการถูกหลอกลวงให้ทำนิติกรรมในผู้สูงอายุ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีเครื่องมือการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 24 คน ประกอบด้วย (1) กลุ่มผู้สูงอายุ ที่มีประสบการณ์ถูกหลอกลวงทำนิติกรรมจำนวน 14 คน และกลุ่มผู้รู้ อาทิ เจ้าหน้าที่รัฐที่ดูแลผู้สูงอายุ ตำรวจ ผู้พิพากษา อัยการ นักวิชาการ จำนวน 10 คน ทั้งหมดมาจากการเลือกแบบเจาะจง แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและแบบสัมภาษณ์มาวิเคราะห์ในเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1)ผู้สูงอายุทั้งในเขตเมืองและเขตชนบทถูกหลอกลวงให้ทำนิติกรรม ส่วนมากเป็นผู้สูงอายุที่อยู่บ้านโดยลำพัง เป็นกลุ่มที่มีฐานะทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับปานกลางถึงระดับดี ลักษณะการถูกหลอกลวงให้ทำนิติกรรมในกลุ่มผู้สูงอายุ พบว่ามี 2 รูปแบบ ได้แก่ 1.1) การหลอกลวงให้ทำนิติกรรม ในพื้นที่จริงของพื้นที่วิจัย และ 1.2) การหลอกลวงให้ทำนิติกรรม ในพื้นที่เสมือนจริงผ่านระบบออนไลน์ 2) มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการถูกหลอกให้ทำนิติกรรมในผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 2.1) มาตรการทางแพ่ง คือ การตั้งผู้พิทักษ์ทรัพย์สิน 2.2) มาตรการทางอาญา คือ การเพิ่มลงโทษจำ และปรับ และ 2.3) มาตรการทางสังคม คือ การมีส่วนร่วมของหน่วยงานและชุมชน

Author Biography

สกุนา ทิพย์รัตน์, อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-09