การพัฒนาการฝึกอบรมแบบปรับเปลี่ยนได้ (ไฮบริด) เพื่อส่งเสริมทักษะกีฬาวอลเลย์บอล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
คำสำคัญ:
การจัดฝึกอบรม, ไฮบริด, วอลเลย์บอลบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาการฝึกอบรมแบบปรับเปลี่ยนได้ (ไฮบริด) เพื่อส่งเสริมทักษะกีฬาวอลเลย์บอลให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 75/75 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ เรื่องทักษะกีฬาวอลเลย์บอลกับเกณฑ์ร้อยละ 75 3. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกีฬาวอลเลย์บอลกับเกณฑ์ร้อยละ 75 และ 4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีต่อการฝึกอบรมแบบปรับเปลี่ยนได้ (ไฮบริด) เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีเครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย แบบทดสอบวัดสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดทักษะกีฬาวอลเลย์บอล และแบบสอบถามความพึงพอใจในการจัดฝึกอบรม โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ จำนวน 174 คน คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลหนองหญ้าม้า (โรงเรียนกีฬาเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด) ปีการศึกษา 2567 โดยการเลือกแบบเจาะจง แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากเครื่องมือการวิจัยมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบโดยการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดฝึกอบรมแบบปรับเปลี่ยนได้ เพื่อส่งเสริมทักษะกีฬาวอลเลย์บอล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 77.50/79.58 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเมื่อเทียบกับเกณฑ์สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีทักษะกีฬาวอลเลย์บอล คิดเป็นร้อยละ 80.63 ซึ่งทักษะการเล่นสองมือล่างคิดเป็นร้อยละ 79.17 ทักษะการเล่นสองมือบน คิดเป็นร้อยละ 85.00 ทักษะการเสิร์ฟ คิดเป็นร้อยละ 80.83 และทักษะการตบ คิดเป็นร้อยละ 77.50 และ 4) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีระดับความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมแบบปรับเปลี่ยนได้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̅= 4.32, S.D.= 4.33)