บทบาทหน้าที่ของดนตรีไทใหญ่ในด้านวัฒนธรรม ประเพณี จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ผู้แต่ง

  • เจริญชัย แสงอรุณ อาจารย์ ประจำหลักสูตรดุริยางคศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

บทบาทหน้าที่ของดนตรี, วัฒนธรรม ประเพณี, จังหวัดแม่ฮ่องสอน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ของดนตรีไทใหญ่ในด้านวัฒนธรรม ประเพณี อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน และ 2. บทบาทหน้าที่ดนตรีของชาวไทใหญ่เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นการวิจัย แบบเชิงคุณภาพ มีเครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 26 คน ที่มาจากการเลือกแบบเจาะจงทั้งหมด แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากเอกสารต่าง ๆ และแบบสัมภาษณ์ มาวิเคราะห์แบบเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทหน้าที่ของดนตรีไทใหญ่ในด้านวัฒนธรรม ประเพณี จังหวัดแม่ฮ่องสอนที่มาจากบทบาทหน้าที่ของดนตรีไทใหญ่ในด้านวัฒนธรรม ประเพณี ประกอบด้วย 1.1) บทบาทหน้าที่ของดนตรีไทใหญ่ในด้านวัฒนธรรม ประเพณี 1.2) ประเพณีแห่จองพารา 1.3) ประเพณีล่องผ่องไต 1.4) ประเพณีปอยส่างลอง 1.5) ประเพณีปอยจ่าตี่ และ 2) บทบาทหน้าที่ดนตรีของชาวไทใหญ่เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประกอบด้วย 2.1) บทบาทหน้าที่ดนตรีของชาวไทใหญ่เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว 2.2) การแสดงฟ้อนดาบ 2.3) การแสดงฟ้อนนก หรือฟ้อนกิงกะหร่า และ 2.4) การแสดงฟ้อนโต คือ การแสดงฟ้อนโตเป็นการแสดงของชาวไทใหญ่ โตในความเชื่อของชาวไทใหญ่คือเป็นสัตว์ป่าหิมพานต์ตามความเชื่อของชาวไทใหญ่

Author Biography

เจริญชัย แสงอรุณ, อาจารย์ ประจำหลักสูตรดุริยางคศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

อาจารย์ ประจำหลักสูตรดุริยางคศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-28