ผลการฝึกความสัมพันธ์ของระบบประสาทและกล้ามเนื้อที่มีต่อความสามารถในการเดาะตะกร้อของนักกีฬาชมรมเซปักตะกร้อ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2567

ผู้แต่ง

  • กรณภว์ กนกลภัสกุล อาจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

กีฬาตะกร้อ, ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ, อุบลราชธานี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถของการเดาะตะกร้อระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม และ 2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถของการเดาะตะกร้อก่อนการฝึกและหลังการฝึก เป็นการวิจัยแบบเชิงปริมาณ มีเครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักกีฬาชมรมเซปักตะกร้อมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวน 20 คน ที่มาจากการเลือกแบบเจาะจง แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากแบบสอบถามมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบโดยการทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าสถิติค่าเอฟ (F-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังการฝึก 6 สัปดาห์ทักษะการเดาะตะกร้อของกลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนการฝึก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 6 ทักษะการเดาะตะกร้อของกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนการฝึก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 ขณะที่หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 6 ทักษะการเดาะตะกร้อของกลุ่มควบคุมไม่แตกต่าง ยกเว้นทักษะการเดาะตะกร้อด้วยเข่า ที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม พบว่า กลุ่มที่ฝึกความสัมพันธ์ของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ (ตารางเก้าช่อง) มีความสามารถในการเดาะตะกร้อ ดีกว่ากลุ่มควบคุมที่ฝึกทักษะตะกร้อแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Author Biography

กรณภว์ กนกลภัสกุล, อาจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

อาจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-27