การพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน บมจ.ธนาคารกสิกรไทย ในเขตพื้นที่เครือข่ายธุรกิจตะวันออกเฉียงเหนือ 2

ผู้แต่ง

  • อรรถพล ยืนยาว นักศึกษา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน, พนักงานธนาคารกสิกรไทย, เครือข่ายธุรกิจ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน บมจ.ธนาคารกสิกรไทย ในเขตพื้นที่เครือข่ายธุรกิจ ตะวันออกเฉียงเหนือ 2 2. สร้างรูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน และ 3.ทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ (Mixed Methods) มีเครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีกลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานธนาคารกสิกรไทย 220 คน แล้วนำข้อมูลมาผ่านสถิติวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง (Structural Equation Model: SEM) ใช้โปรแกรมลิสเรล (LISREL) สร้างรูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน โดยใช้การประชุมกลุ่มย่อย (Focus Groups) และการระดมสมอง (Brain Storming) โดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholder) 20 คน แล้วผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบก่อนนำไปใช้ กลุ่มทดลอง คือ พนักงานธนาคารกสิกรไทยที่ปฏิบัติงานในจังหวัดร้อยเอ็ด 30 คน เปรียบเทียบผลการทดลองระหว่างก่อนและหลังการทดลองด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบหลายตัวแปรตาม (MANOVA : Repeated Measure) กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เรียงตามลำดับอิทธิพล ได้แก่ การรับรู้บทบาท (β=0.42) การเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร (β=0.19) ภาวะผู้นำ (β=0.16) แรงจูงใจ (β=0.14) และการทำงานเป็นทีม (β=0.13) และ 2) รูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน ได้รูปแบบการพัฒนา 11 กิจกรรม ประกอบด้วย 2.1 บทบาทและหน้าที่ 2.2 ความรู้เกี่ยวกับผู้นำ 2.3 การเสริมสร้างภาวะผู้นำ 2.4 หน้าต่าง โจ ฮารี 2.5 รูปปริศนา 2.6 การทำงานร่วมกันเป็นทีม 2.7 การแสดงบทบาทสมมติ 2.8 การเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร 2.9 การแสดงพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี 2.10 การสร้างขวัญกำลังใจ และ 2.11 เรียนรู้การพัฒนาบุคคลและทีมงาน และ 3. การทดลองใช้และประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน พบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานแตกต่างกับก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Author Biography

อรรถพล ยืนยาว, นักศึกษา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

นักศึกษา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30