การพัฒนาระบบฐานข้อมูลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ในจังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

อธิกัญญ์ แพรต่วน, ภูริพัศ เหมือนทอง

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ จังหวัดนครสวรรค์ สำหรับเป็นแหล่งสืบค้นองค์ความรู้การน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในจังหวัดนครสวรรค์ผ่านเว็บไซต์ และเพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบด้วยการศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบฐานข้อมูลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีเครื่องมือที่สำคัญได้แก่ 1) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผู้นำชุมชน ชาวบ้านที่น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ที่อาศัยในพื้นที่ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ จำนวน 154 หมู่บ้าน จำนวน 224 ราย 2) ผู้ใช้เว็บไซต์ จำนวน 400 คน ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบฐานข้อมูลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ จังหวัดนครสวรรค์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย () = 4.40 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.683 คิดเป็นร้อยละ 88 เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีความพึงพอใจมากที่สุดเป็นลำดับ 1 ได้แก่ ด้านความเถียรภาพของระบบ มีค่าเฉลี่ย () = 4.43 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.668 รองลงมา คือ ด้านการออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูล มีค่าเฉลี่ย () = 4.40 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) =  0.672 ด้านการนำไปประยุกต์ใช้ มีค่าเฉลี่ย () = 4.38 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) =  0.673 และด้านประโยชน์ของระบบต่อการสืบค้นและศึกษา มีค่าเฉลี่ย () = 4.35 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) =  0.696 ตามลำดับ


 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)