จริต 6 ศาสตร์ในการอ่านใจคน เขียนโดย ดร. อนุสร จันทพันธ์, ดร.บุญชัย โกศลธนากุล

Main Article Content

พระครูพิสณฑ์กิจจาทร (เทิดทูน ธมฺมกาโม)

Abstract

จริต 6 ศาสตร์ในการอ่านใจคน ภายใต้แนวคิดที่ว่า “มนุษย์ต่างมีระบบความคิด ระบบการมองโลกที่แตกต่างกัน” คำว่า “จริต” มีการให้ความหมายว่าเป็นความประพฤติ เป็นกิริยาอาการที่แสดงออกมาให้เห็น มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า “จริย” “จริยา” หรือ “จรรยา” เป็นความประพฤติที่เกิดจากพื้นเพ และนิสัยใจคอ เมื่อเปรียบเทียบคำว่า “จริต” กับคำว่า “จริยา” จึงแปลความหมายในภาพรวมได้ว่า “ความประพฤติปกติ หมายถึง พื้นเพของจิต นิสัย ลักษณะความประพฤติที่หนักไปทางใดทางหนึ่งตามสภาพจิตที่เป็นปกติของบุคคลนั้น ๆ ตัวความประพฤตินั้นเรียกว่า จริยา ที่บุคคลผู้นั้นมีลักษณะนิสัยและความประพฤติอย่างนั้นๆ ทั้งนี้ได้แบ่งจริตตามความหมายทางพุทธศาสนาออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่ “ราคจริต โมหจริต สัทธาจริต วิตกจริต และพุทธจริต” และโดยธรรมชาติมนุษย์มีจริตทั้ง 6 เป็นพื้นฐานของจิตใจแต่คนๆ หนึ่งอาจมีจริตมากกว่าหนึ่งจริตอย่างผสมผสานกันได้ แต่จะมีจริตใดจริตหนึ่งที่เด่นกว่าจริตอื่นๆ อยู่ ซึ่งผู้ใดที่มีจริตอย่างไหนมากกว่าอย่างอื่นก็เรียกชื่อตามจริตนั้นเช่น “คนราคจริต คนโมหจริต คนโทสจริต คนสัทธาจริต คนวิตกจริต คนพุทธจริต” ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อจริตของมนุษย์ซึ่งส่งผลให้เกิดมีจริตที่แตกต่างคือปัจจัยที่เรียกโดยรวมว่าบุคลิกภาพ อันส่งผลต่อความสำเร็จในชีวิตไม่ว่าจะด้านใดๆ ปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือ "ความสามารถในการทำหน้าที่และมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นได้อย่างเหมาะสม" เป็นนิยามที่สรุปรวบยอดในหนังสือเล่มนี้ของผู้วิจารณ์ การบริหารงานที่มีประสิทธิภาพได้นั้น จะต้องเข้าใจธรรมชาติของตนเองและผู้อื่นได้เป็นอย่างดี การทราบลักษณะนิสัยพื้นฐานของเราเองและเพื่อนร่วมงานและลุกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชาว่าเป็นอย่างไร รู้ข้อดีและข้อจำกัดของกันและกันเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ในบทบาทของแต่ละคน ล้วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในองค์กรสังคมและประเทศชาติ การมีความรู้ด้านจริตของมนุษย์นั้นจะช่วยให้เข้าใจธรรมชาติของตนเองและผู้อื่นได้อย่างลึกซึ้ง เพราะเป็นบุคลิกภาพพื้นฐานตามที่เป็นจริงในปัจจุบันหนังสือได้ให้แนวคิดรวบยอดไว้ว่า “ภูเขาสามารถถล่มมาเป็นถนน แม่น้ำสามารถเปลี่ยนทางเดิน แต่นิสัยใจคอคน ยากแท้ที่จะเปลี่ยน”

Article Details

Section
Book Review