การจัดการเรียนการสอนนักเรียนระดับประถมในจังหวัดนครราชสีมาให้เข้มแข็ง ในสังคมยุคดิจิตอล

Main Article Content

รำไพมณี วิเชียรรัตน์
สิทธิพรร์ สุนทร
รัชนิดา ไสยรส

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการจัดการเรียนการสอนนักเรียนระดับประถมในจังหวัดนครราชสีมาให้เข้มแข็งในสังคมยุคดิจิตอล  2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนการสอนนักเรียนระดับประถมในจังหวัดนครราชสีมาให้เข้มแข็งในสังคมยุคดิจิตอล และ 3)รูปแบบการจัดการเรียนการสอนนักเรียนระดับประถมในจังหวัดนครราชสีมาให้เข้มแข็งในสังคมยุคดิจิตอล โดยระยะที่ 1 การวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน  400 คน จากสูตรการสุ่มกลุ่มตัวอย่างของยามาเน่ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ระยะที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลการสัมภาษณ์และการประชุมกลุ่มย่อย จำนวน 69 คน จากการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุโดยวิธี Stepwise และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า  การจัดการเรียนการสอนระดับประถมในจังหวัดนครราชสีมา โดยรวมอยู่ในระดับมาก


  1. ความเข้มแข็งของนักเรียนระดับประถมในจังหวัดนครราชสีมาในสังคมยุคดิจิตอล โดยรวมอยู่ในระดับมาก

  2. ความสัมพันธ์ของการจัดการเรียนการสอนนักเรียนระดับประถมในจังหวัดนครราชสีมากับความเข้มแข็งในสังคมยุคดิจิตอล ค่าความสัมพันธ์โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เท่ากับ.594 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  3. การจัดการการเรียนการสอนของนักเรียนระดับประถมในจังหวัดนครราชสีมาให้เข้มแข็งในสังคมยุคดิจิตอลสามารถเขียนสมการณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ Y = .838 - .497 X +  .316X2+  .179X3  + .323X5+ .444X7, สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Zr  =  -.474Z+ .357Z7+ .305Z5  + .292Z2 + .161Z3

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)