ปัจจัยการจำแนกกลุ่มการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในเขตพื้นที่จังหวัด ชายแดนไทยที่มีอาณาเขตติดต่อกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สามารถการจำแนกกลุ่มการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และสร้างสมการจำแนกประเภทปัจจัยจำแนกกลุ่มการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนที่มีอาณาเขตติดต่อกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา นักเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง นักเรียน ผู้อำนวยการหรือหัวหน้าหน่วยงานด้านความมั่นคง ในพื้นที่อำเภอชายแดนไทยที่มีอาณาเขตติดต่อกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ จำนวน 1,260 คน โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ผลด้วยสถิติพื้นฐานและเทคนิคการวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม (discriminant analysis)
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่สามารถการจำแนกกลุ่มการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนที่มีอาณาเขตติดต่อกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่าได้ดีที่สุดทั้ง 3 กลุ่ม (ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้) คือ การจัดการความขัดแย้งในชุมชนของสถานศึกษา (x13) รองลงมาคือ การส่งเสริมประเพณี วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น (x15) การธำรงวัฒนธรรมเดิมและเข้าใจความแตกต่างของวัฒนธรรม เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข (x17) การสื่อสารภาษาถิ่น (x4) การเรียนรู้กฎ กติกา ของรัฐ (x14) การจัดการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของสถานศึกษา (x10) การพัฒนาคุณภาพแหล่งเรียนรู้ของชุมชน (x23) การส่งเสริมอาชีพ (x8) การเรียนรู้ภาษาไทยของผู้เรียน (x3) การส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น (ด้านการเสริมสร้างทักษะอาชีพ) มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา (x16) การสร้างความตระหนักด้านความมั่นคงให้แก่ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้เรียน (x21) ตามลำดับ และสามารถเขียนสมการจำแนกกลุ่มในรูปคะแนนดิบได้คือ y = -1.254 + (1.085) (x13) + (-.872) (x15) + (.681 (x17) + .441 (x14) + (-.409) (x10) + .386 (x4) +.361 (x23) + .260 (x8) + .139 (x3) + .074 (x16) + (-.008) (x21) โดยสมการจำแนกกลุ่มสามารถพยากรณ์การเป็นสมาชิกของทั้งสามกลุ่มได้ถูกต้องร้อยละ 75