การสร้างแบบประเมินการอนุรักษ์พลังงานสำหรับ อาคารพักอาศัย
Main Article Content
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบประเมินอาคารประหยัดพลังงานในอาคารพักอาศัยให้สามารถเข้าใจง่ายและเหมาะสมแก่เจ้าของอาคาร เพื่อส่งเสริมให้เจ้าของอาคารได้ตระหนักถึงการประหยัดพลังงาน แบบประเมินที่สร้างขึ้นนี้ได้ถูกพัฒนามาจากแบบประเมินของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน แบบประเมินใหม่นี้มีเนื้อหาประกอบไปด้วยหมวดต่างๆ 9 หมวด คือ หมวดสถานที่ตั้งอาคาร หมวดผังบริเวณและงานภูมิสถาปัตยกรรม หมวดระบบเปลือกอาคาร หมวดระบบปรับอากาศ หมวดระบบไฟฟ้าแสงสว่าง หมวดระบบธรรมชาติและพลังงานทดแทน หมวดระบบสุขาภิบาล หมวดวัสดุและการก่อสร้าง และหมวดเทคนิคการออกแบบและกลยุทธ์ประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม การให้คะแนนแบ่งออกเป็นสองส่วนคือส่วนของการประหยัดพลังงานกับส่วนความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมโดยอ้างอิงสัดส่วนการให้คะแนนตามแบบประเมินของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน จากการทดสอบการประเมินเบื้องต้นโดยการนำไปประเมินจากรายงานของบ้านพักอาศัยที่เคยได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์พลังงานจำนวน 20 กรณีศึกษา พบว่า สามารถประเมินได้อย่างง่ายและรวดเร็ว เนื่องจากรายงานการประเมินของกรณีศึกษาได้ระบุรายละเอียดของอาคารไว้อย่างครอบคลุมและชัดเจน เมื่อนำแบบประเมินมาทดสอบกับเจ้าของอาคารจำนวณ 10 หลัง พบว่า ผู้ประเมินมีความเห็นว่าแบบประเมินสามารถใช้งานได้ง่าย แต่ยังมีบางหัวข้อที่ผู้ประเมินไม่เข้าใจศัพท์ทางเทคนิคและบางหัวข้อต้องมีการคำนวณ จึงได้ปรับปรุงแบบประเมินใหม่อีกครั้งโดยการเพิ่มคำอธิบายศัพท์ทางเทคนิค เพื่อให้มีความสะดวกและเหมาะสมแก่ผู้ใช้งาน
Construction of energy conservation evaluation form for residential buildings
Dennapha Homdee1 and Wittaya Yongjaroen2
1Energy Technology and Management (Interdisciplinary Program) Graduate School, Chulalongkorn University, Phayathai Road, Patumwan, Bangkok 10330
2Department of Mechanical Engineering, Faculty of Engineering, Chulalongkorn University Phayathai Road, Patumwan, Bangkok 10330
The objective of this study is to create the evaluation form for energy efficient buildings which can be easily and appropriate to the owner of the residential building. This is to encourage the awareness of energy saving. The evaluation form has been developed by modifying the evaluation form of the Department of Alternative Energy Development and Efficiency. This evaluation form consists of 9 categories; building location, chart area and architecture’s landscape, building structure systems, air conditioning systems, lighting systems, natural and renewable energy, sanitary system, materials and construction ,and techniques and strategies designed to save energy and protect the environment. The mark is divided into two parts which are the energy efficiency and the environmental responsibility .The weighting of the mark is refer to the same weighting in the evaluation form of the Department of Alternative Energy Development and Efficiency. First , the evaluation form is tested by the author with 20 case study reports of the residential buildings that won the energy conservation award. Due to the complete information, the evaluation form can be evaluated easily and quickly. Second, when the evaluation form was evaluated by the owners of the other 10 building cases. It is found that this evaluation form can be evaluated easily except for some topics which are difficult to understand because of technical term and needed calculation. Finally, the evaluation form has been modified by adding the explanation of the technical term which suitable for the building owner.