ศักยภาพการลดก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานสำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอในประเทศไทย

Main Article Content

พงศ์ปิติ เดชะศิริ
อัจฉริยา สุริยะวงค์
วีรินทร์ หวังจิรนิรันดร์

Abstract

งานวิจัยนี้ศึกษาศักยภาพการลดก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานสำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอในประเทศไทย โดยจำแนกประเภทของอุตสาหกรรมสิ่งทอตามชนิดของผลิตภัณฑ์หลัก วิเคราะห์ค่าดัชนีการเกิดคาร์บอน (Carbon Intensity; CI) ซึ่งเป็นดัชนีที่ใช้วิเคราะห์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานใน 2 ลักษณะ ได้แก่ การเปรียบเทียบเชิงมูลค่าและการเปรียบเทียบเชิงกายภาพ ผลการศึกษาพบว่า ค่า CI ของอุตสาหกรรมสิ่งทอในประเทศไทยมีค่าสูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบเชิงมูลค่ากับต่างประเทศ และการเปรียบเทียบค่า CI เชิงกายภาพของโรงงานควบคุมอุตสาหกรรมสิ่งทอในประเทศไทย แสดงให้เห็นว่า ค่าเฉลี่ย CI เท่ากับ 2.89, 4.71 และ 3.61 tCO2eq/ตัน ได้แก่ โรงงานควบคุมอุตสาหกรรมการปั่นด้าย ทอผ้า และตกแต่งสำเร็จสิ่งทอ ตามลำดับ สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งมีขนาดกำลังการผลิตผลิตภัณฑ์ต่ำ การเพิ่มประสิทธิภาพการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานบนพื้นฐานปริมาณ การผลิตผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น จะส่งผลให้ค่า CIลดลง และการปรับปรุงเครื่องจักรและเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด ผลการศึกษาพบว่า สามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ 154,733 tCO2eq หรือคิดเป็นร้อยละ 6.34 ของโรงงานควบคุมปี พ.ศ. 2550 เครื่องจักรและเทคโนโลยีที่มีศักยภาพลดก๊าซเรือนกระจกจาก การใช้การพลังงานมากที่สุด ได้แก่ มอเตอร์ไฟฟ้า คอมเพรสเซอร์ และหม้อต้มน้ำ คิดเป็นร้อยละ 63, 31 และ 7 ตามลำดับ การพิจารณาศักยภาพการลดก๊าซเรือนของโรงงานควบคุมอุตสาหกรรมสิ่งทอ เมื่อขยายผลการศึกษาสู่ภาพรวมข้อมูลกิจกรรมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานของอุตสาหกรรมสิ่งทอประเทศไทย จะสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ 332,719 tCO2eq ในปี พ.ศ.2550

 

Potential on Energy-Related Greenhouse Gas Mitigation of Textile Industry in Thailand

Phongpiti Dechasiri1, Achariya Suriyawong2 and Weerin Wangjiraniran3

1Inter-Department of Environmental Science, Graduated School, Chulalongkorn University

2Department of Environmental Engineering, Faculty of Engineering, Chulalongkorn  University

3Energy Research Institute, Chulalongkorn

This study investigated the potential of energy-related greenhouse gas (GHG) mitigation from Thailand textile industries at difference by classification of textile production. This study evaluated Carbon Intensity (CI) in two terms, (1) comparison of GHG emission based on value-added (CO2eq/value-added) and (2) physical production. The results showed that GHG emission based on value-added (kgCO2eq/USD) of Thailand textile industries is the highest (0.31 kgCO2eq) when comparing. When comparing GHG emission based on physical production (CO2eq/production) of Thailand designated factories, average CI are 2.89, 4.71 and 3.61 (kgCO2eq/kg) for spinning, weaving and finishing process designated factories, respectively. For small and medium scale industrial, these results showed that increasing of equipment efficiency influence to decreasing of CI value. Improvement of machine, the result showed that the GHG emission can reduce 154,733 tCO2eq (6.34%) of designated factories in 2007. The potential of reducing GHG emission came from electric motor, compressor and boiler (63, 31 and 7%, respectively). From this study, GHG emission of overall Thailand textile industry can be calculated, 332,719 tCO2eq in 2007.

Article Details

Section
บทความวิจัย