การศึกษาค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของการเดินทางแต่ละรูปแบบ: กรณีศึกษา เส้นทางสะพานใหม่-สีลม
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาผลกระทบของราคาพลังงานที่มีต่อค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและค่าใช้จ่ายในการเดินทางของการเดินทาง 3 รูปแบบ คือ 1) รถยนต์ส่วนบุคคล 2) จอดแล้วจร และ 3) ระบบขนส่งสาธารณะ โดยใช้เส้นทางขาเข้าเมืองของกรุงเทพมหานครในชั่วโมงเร่งด่วนเช้าเวลา 6.00 - 9.00 น. เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะแทนรถยนต์ส่วนบุคคล จากการวิเคราะห์พบว่าค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนบุคคลในปัจจุบันมีค่าแตกต่างจากการใช้ระบบขนส่งสาธารณะไม่มากนัก แต่รถยนต์ส่วนบุคคลใช้เวลาในการเดินทางที่น้อยกว่าอย่างชัดเจน ในส่วนของการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานพบว่ารถโดยสารประจำทางมีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงราคาพลังงานมากกว่ารถยนต์ส่วนบุคคล แต่การเปลี่ยนเชื้อเพลิงจากดีเซลเป็นก๊าซธรรมชาติสามารถลดความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงราคาพลังงานของรถโดยสารประจำทางและทำให้ต้นทุนการเดินรถต่ำลง ส่วนของรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนมีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงราคาพลังงานน้อยที่สุด
ผู้วิจัยได้จัดทำกรณีเสนอแนะ 2 กรณี โดยเน้นการเพิ่มความแตกต่างของค่าใช้จ่ายในการเดินทางของรถยนต์ส่วนบุคคลและระบบขนส่งสาธารณะให้มากขึ้นด้วยการ 1) ลดค่าโดยสารของระบบขนส่งสาธารณะลง 2) เพิ่มค่าใช้จ่ายของการ ใช้รถยนต์ส่วนบุคคลขึ้น ซึ่งภาครัฐสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินนโยบายโครงสร้างราคาค่าโดยสารและโครงสร้างราคาพลังงานสำหรับภาคการขนส่งได้
The Study of Energy Cost and Commuting Expenditure in Different Transportation Modes : Case Study on Saphan Mai–Silom Route
Weerapan Rujikiatkumjorn1 and Weerin Wangjiranirun2
1Interdisciplinary Program of Energy Technology and Management, Graduate School, Chulalongkorn University
2Energy Research Institute, Chulalongkorn University
This paper is prepared for the study of the impact of Transportation Energy Price on Commuting and Energy Expenditure of Bangkok Residents who travel daily from outside to inside City Center in the morning rush hour 6.00 – 9.00 am. The optimum routes were selected to conduct real-world commuting test by three available modes. The use of Driving, Park and Ride, and Public Transit routes showed that the people are pushed to drive due to the expenditure difference and the travelling time variation of the three modes. Sensitivity analysis between energy expenditure and energy price showed that Metro Bus is the most affected followed by Passenger Car and Heavy Rail respectively.
Two policy frameworks of Energy and Fare Pricing were proposed to enlarge the difference between the car and public transit, and the improvement guidelines were also proposed to reduce the operating cost of the Metro Bus.