รูปแบบมาตรการทางการเงินที่เหมาะสม สำหรับการสนับสนุนระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้านในประเทศไทย

Main Article Content

ดิศรณ์ ชัยช่วงโชค
โสภิตสุดา ทองโสภิต
แนบบุญ หุนเจริญ

Abstract

การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้านพักอาศัยในประเทศไทยในปัจจุบันนั้นยังขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ เนื่องจากยังไม่มีมาตรการที่ชัดเจนสำหรับการให้ประชาชนทั่วไปสนใจลงทุนติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้าน ซึ่งมาตรการในอดีตที่ผ่านมานั้นก่อให้เกิดปัญหาและความไม่เป็นธรรมกับผู้ลงทุนและประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้า ในการศึกษานี้จึงได้กำหนดโครงสร้างราคารับซื้อไฟฟ้าแบบ Fixed Feed-in Tariff (FIT) และคำนวณอัตรา FIT ที่เหมาะสม ซึ่งเป็นอัตราค่าไฟฟ้าที่กำหนดโดยคำนึงถึงต้นทุนของการผลิตไฟฟ้าซึ่งมีค่าต่างกันตามเทคโนโลยี โดยการศึกษานี้ได้ออกแบบรูปแบบมาตรการทางการเงินไว้ 3 รูปแบบ แต่ละรูปแบบมีความเหมาะสมกับกลุ่มผู้มีรายได้ในระดับที่ต่างกันและให้ผลตอบแทนที่ดี ทั้งยังส่งผลกระทบกับผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วไปน้อยอีกด้วย

 

THE SUPPORT OF RESIDENTIAL ROOFTOP SOLAR SYSTEMS IN THAILAND

Disorn Chaichuangchok1 Sopitsuda Tongsopit2 and Naebboon Hoonchareon3

1Energy Technology and Management Program, Graduate School, Chulalongkorn University

2,3Energy Research Insititutes  Chulalongkorn University

In Thailand, the investment in residential rooftop solar power systems is still not attractive because there is still a lack of support measures for this market segment. The support measures that the government has put in place to date have been focused primarily on large-scale solar farm investment and caused many problems both for the investors and ratepayers. This study hence designs a fixed feed-in tariff measure (FiT) to support residential-scale rooftop solar systems installation. A fixed FiT is an electricity purchasing price that reflects the investment costs of different renewable energy technologies. Three rates of FiT are proposed to provide attractive returns for three levels of income groups. The FiT measure will result in negligible impacts on ratepayers, given the current residential rooftop target specified in Thailand’s Alternative Energy Development Plan.

Article Details

Section
บทความวิจัย