การประเมินมูลค่าความยืดหยุ่นโดยวิธีเรียลออปชั่นจากกรณีศึกษาโรงไฟฟ้าชีวมวลระบบแก๊สซิฟิเคชั่นแบบเชื้อเพลิงหลายชนิด ขนาด น้อยกว่า 1 เมกกะวัตต์

Main Article Content

อาภากร พันธุวัชรพล
ฐิติศักดิ์ บุญปราโมทย์

Abstract

การตัดสินใจเลือกลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดน้อยกว่า 1 เมกกะวัตต์ ที่มีทางเลือกในการลงทุนทั้งขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้ง 5 ทางเลือก ได้แก่ ทางเลือกที่ 1 การก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 350 KW 1 โรงก่อน เพื่อดูความเสี่ยงในการลงทุน เพื่อพิจารณาก่อสร้างเพิ่มเติมอีก 350 KW และ 300 KW ทางเลือกที่ 2 การก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 500 KW 1 โรงก่อน เพื่อดูความเสี่ยงในการลงทุน เพื่อพิจารณาก่อสร้างเพิ่มเติม ทางเลือกที่ 3 การก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 350 KW 2 โรงและ 300 KW 1 โรงพร้อมกัน ทางเลือกที่ 4 การก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 500 KW  2 โรง พร้อมกันและทางเลือกสุดท้ายการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 1,000 KW การประเมินทางเลือกดังกล่าวจะคำนึงถึงความเสี่ยงของการลงทุนจากปัจจัยนำเข้าหลายประการ โดยพิจารณาชนิดเชื้อเพลิงที่ใช้ ได้แก่ การใช้เชื้อเพลิงจากซังข้าวโพดหรือเชื้อเพลิงหญ้าเนเปียร์อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว  หรือใช้เชื้อเพลิงทั้ง 2 สลับกันโดยใช้ซังข้าวโพดสลับหญ้าเนเปียร์ในช่วงที่ปริมาณซังข้าวโพดมีน้อย โดยคำนึงถึงความไม่แน่นอนของปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องต่อการลงทุน เช่น ต้นทุนราคาเครื่องจักร การก่อสร้าง อัตราการเปลี่ยนแปลงของค่าไฟผันแปร (Ft ) ที่มีผลต่อราคาจำหน่ายไฟฟ้าการเปลี่ยนแปลงของราคาเชื้อเพลิง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป งานวิจัยนี้ได้พิจารณาปัจจัยที่มีความอ่อนไหวต่อการลงทุนซึ่ง เงินลงทุนเริ่มแรก ส่วนของ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ และค่าก่อสร้าง มีความอ่อนไหวต่อการลงทุนมากที่สุด และทำการประเมินหาตัวชี้วัดทางการเงินจากแบบจำลองกระแสเงินสดคิดลด (Discounted Cash Flow Model)ร่วมกับการจำลองสถานการณ์แบบมอนติ คาร์โล จากการเปลี่ยนแปลงแบบสุ่มของปัจจัยนำเข้าต่าง ๆเพื่อหาขนาดการลงทุนที่เหมาะสมภายใต้ความเสี่ยงและประเมินหามูลค่าความยืดหยุ่นจากการเปลี่ยนแปลงราคาเชื้อเพลิงโดยวิเคราะห์แยกเป็นภาพฉายต่าง ๆ ซึ่งภาพฉายที่มีค่าความยืดหยุ่นมากที่สุด คือ การลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาด 500  KW  จำนวน 1 โรง และชะลอการลงทุน เพื่อพิจารณาตัดสินใจลงทุนเพิ่ม 500 KW ในอีก 2 ปี ข้างหน้าโดยใช้เชื้อเพลิงจากหญ้าเนเปียร์  โดยมีค่าความยืดหยุ่นอยู่ที่ 9.37 ล้านบาท ประกอบกับพิจารณาระดับความเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดขึ้นจากการลงทุนในทางเลือกดังกล่าวมีระดับความเสี่ยงระดับกลางซึ่งงานวิจัยนี้ช่วยให้ผู้ตัดสินใจสามารถวางแผนการจัดการความเสี่ยงและลงทุนในขนาดกำลังการผลิตที่เหมาะสมของโรงไฟฟ้า  เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าที่สุด

 

Flexibility Valuation Using Real Option Approach From Case Study: Biomass Power Plant 1MW Multi Feedstock Gasification

The decision investment alternatives for Biomass power plant with capacity less than 1 MW was considered in five alternatives.These investment alternatives are: investment in power plant capacity 350 KW 1 plant and consider risk assessment for additianal investment until 1MW or investment in power plant capacity 500 KW 1 plant and consider risk assessment for additianal investment until 1MW  or investment in power plant capacity 350 KW 2 plants and synchronous with 300 KW 1 plant or  investment in power plant capacity 500 KW 2 plants or last alternative investment in power plant capacity 1000 KW 1 plant. By type of biomass fuel (Corncob and Giant King Grass G-120) one kind fuel only or switching fuel by seasonal.Risk assessment from many factors that related the investment such as initial investment capital and different investment alternatives:variance of float time rate (Ft), Price of fuel and variance of Consumer Price Index. The results from Sensitivity Analysis is the most sensitive on the initial investment capital follow by price and Quantity of biomass fuel respectively . The risk  assessment of the project  return  was performed using Monte Carlo simulation approach on the discounted cash flow model (DCF). Then flexibility valuation from 11 probability scenarios in the future and investment in appropriate capacity of the power plant .The results form this analysis found the most flexibility alternative is the investment in power plant capacity 500 kw 1 plant and considered risk assessment for additianal investment until 1 MW by 9.37 MB. The results provide some insights for the planning of financial returns and biomass fuels usage.

Article Details

Section
บทความวิจัย