โมเดลสมการโครงสร้างของการบริหารทรัพยากรการศึกษา โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก

Main Article Content

เนตรชนก สูนาสวน
ทนง ทองภูเบศร์
กุลพัทธ์ กุลชาติดิลก
สัมพันธุ์ จันทร์ดี
ณัฏฐกิตติ์ พาสภาการ
รัฐจักรพล สามทองก่ำ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สถานการณ์การบริหารทรัพยากรการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก และ 2) สร้างโมเดลสมการโครงสร้างของการบริหารทรัพยากรการศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 161 คน ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วยโปรแกรมของ Soper, D.S. (2024) เก็บรวมรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง


ผลการวิจัยพบว่า1)ด้านสถานการณ์การบริหารทรัพยากรการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กเรียงลำดับจากมากที่สุดไปน้อยที่สุด ได้แก่ ประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรการศึกษามีค่าสูงสุด รองลงมาคือด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารทรัพยากรบุคลากร ด้านการบริหารแหล่งเรียนรู้ และด้านการบริหารวัสดุและครุภัณฑ์2) ด้านโมเดลสมการโครงสร้างของการบริหารทรัพยากรการศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยค่า Chi-square เท่ากับ 821.987 df เท่ากับ 413 p เท่ากับ 0.000 CMIN/DF เท่ากับ 1.990 CFI เท่ากับ 0.901 GFI เท่ากับ 0.758 AGFI เท่ากับ 0.709 และค่า RMSEA เท่ากับ 0.079 ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างด้านการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล (HRM) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับด้านการบริหารจัดการงบประมาณ (BM) ด้านการบริหารวัสดุและครุภัณฑ์ (MEM) และด้านการระดมทรัพยากรการศึกษา (ERM) เท่ากับ 0.84, 0.70, และ 0.81 ตามลำดับ ด้านการบริหารจัดการงบประมาณมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับด้านการบริหารวัสดุและครุภัณฑ์ และด้านการระดมทรัพยากรการศึกษา เท่ากับ 0.77 และ 0.69 ตามลำดับ ด้านการระดมทรัพยากรการศึกษามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรการศึกษา (EERM) และด้านการบริหารแหล่งเรียนรู้ (LRM) เท่ากับ 0.88 และ 0.90 ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
สูนาสวน เ., ทองภูเบศร์ ท. ., กุลชาติดิลก ก. ., จันทร์ดี ส. ., พาสภาการ ณ. ., & สามทองก่ำ ร. (2024). โมเดลสมการโครงสร้างของการบริหารทรัพยากรการศึกษา โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 6(2), 345–363. https://doi.org/10.14456/jappm.2024.44
บท
บทความวิจัย

References

กติกา พฤกจันทร์ วรรณรี ปานศิริ และทนง ทองภูเบศร์. (2567). แนวคิดใหม่การบริหารทรัพยากรการศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. วารสารมณีเชษฐารามวัดจอมมณี, 7(3), 933-944.

ชัยชนะ ราชไชย และจิรวัฒน์ วรุณโรจน์. (2564). ความต้องการจำเป็นในการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. สิกขาวารสารศึกษาศาสตร์, 8(2), 206-217.

ธัญลักษณ์ มณีโชติ สุชาดา นันทะไชย สุดารัตน์ สารสว่าง และสรียา โชติธรรม. (2567). โมเดลสมการโครงสร้างของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในประเทศไทย. Journal of MCU Social Science Review, 13(4), 108-122.

รพีพรรณ ปัญญา และ ศันสนีย์ จะสุวรรณ์. (2564). องค์ประกอบการระดมทรัพยากรทางการศึกษา. In Proceeding National & International Conference (Vol. 14, No. 2, p. 1099).

รัฐพงษ์ มั่นต่อ และหยกแก้ว กมลวรเดช. (2564). แนวทางการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(10), 223-238.

ศิริพร งามเลิศ สุพจน์ แสงเงิน สุภาพ วิเศษศรี ณพัฐธิกา ปิติเลิศศิริกุล และสุวัฒน์ วัฒนวงศ์. (2567). การบริหารทรัพยากรทางการศึกษาตามความคิดเห็นของบุคลากรโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 21. Journal of Arts Management, 8(2), 317-333.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แผนบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กปี พ.ศ. 2562-2565. กรุงเทพมหานคร: อักษรไทย.

สุทธิกรณ์ วรรณสมพร ชัชภูมิ สีชมภู และสุรเชษฐ์ บุญยรักษ์. (2566). ปัจจัยการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1. Journal of Legal Entity Management and Local Innovation, 9(8), 287-300.

สุทธิกรณ์ วรรณสมพร ชัชภูมิ สีชมภู และสุรเชษฐ์ บุญยรักษ. (2566). ปัจจัยการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1. Journal of Legal Entity Management and Local Innovation, 9(8), 287-300.

อารียา ประพัศรางค์ ทรัพย์หิรัญ จันทรักษ์ และเอกลักษณ์ เพียสา. (2566). การศึกษาองค์ประกอบการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาในโรงเรียน. MCU Haripunchai Review, 7(4), 16-32.

Atoyin, V. M. C., & Atte, T. P. (2021). Role of Public-Private Partnership in School Resource Management. International Journal of Educational Management, 19(1). 334-344.

Bwamoni, C. O., & Kageha. E. (2021). EFFECT OF SCHOOL RESOURCE MANAGEMENT ON KENYA CERTIFICATE OF PRIMARY EDUCATION PERFORMANCE IN PUBLIC PRIMARY SCHOOLS IN KAKAMEGA EAST SUB-COUNTY. International Journal of Education Humanities and Social Science. 4(3), 248-257.

Byrne, B. M. (2010). Structural Equation Modeling with AMOS: Basic Concepts, Applications, and Programming (2nd ed.). Routledge.

Cronbach, L. J., & Furby, L. (1970). How we should measure" change": Or should we?. Psychological bulletin, 74(1), 68.

Ghufron, S., Fitriyah, F. K., Sodikin, M., Saputra, N., Amin, S. M., & Muhimmah, H. A. (2024). Evaluating the Impact of Teachers’ Personal and Professional Resources in Elementary Education on School-Based Human Resource Management: A Case Study in Indonesia. SAGE Open, 14(1), 21582440241231049.

Goulet-Pelletier, J. C., & Cousineau, D. (2018). A review of effect sizes and their confidence intervals, Part I: The Cohen’sd family. The Quantitative Methods for Psychology, 14(4), 242-265.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2014). Multivariate Data Analysis (7th ed.). Pearson Education Limited.

Kusmaryono, I., Wijayanti, D., & Maharani, H. R. (2022). Number of Response Options, Reliability, Validity, and Potential Bias in the Use of the Likert Scale Education and Social Science Research: A Literature Review. International Journal of Educational Methodology, 8(4), 625-637.

Masnawati, E., & Darmawan, D. (2022). School Organization Effectiveness: Educational Leadership Strategies in Resource Management and Teacher Performance Evaluation. International Journal of Service Science, Management, Engineering, and Technology, 2(1), 43-51.

Muliati, A., Sihotang, W., & Octaviany, R. A. (2022). Effectiveness of school resources management in improving the quality of education. East Asian Journal of Multidisciplinary Research, 1(6), 901-916.

Oluloch, R. (2017). Effectiveness of Stakeholders Involvement in Resource Management on Pupils’ academic Performance in Public Primary Schools in Ugunja Sub- County Siaya County (Doctoral dissertation, University of Nairobi).

Reddy, N., Manogna, N., & Shivani, S. (2023). Educational Resource Management System (ERMS). International Journal of Science and Research Archive, 8(2), 026-029.

Saychuay, P., Pechrpuang, S., & Sungkaowsuttirak, S. (2022). Strategies for Educational Resource Management of Small Schools under Suratthani Primary Educational Service Area Office 1. Rajapark Journal, 16(48), 167-182.

Soper, D.S. (2024). A-priori Sample Size Calculator for Structural Equation Models [Software]. Available from https://www.danielsoper.com/statcalc