การใช้หลักสังคหวัตถุธรรมในการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน ของเทศบาลเมืองคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

Main Article Content

ไพศาล ผกาเกตุ
สิทธิพงษ์ สิทธิภัทรประภา

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้และแนวทางการส่งเสริมการใช้หลักสังคหวัตถุธรรมในการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนของเทศบาลเมืองคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีภูมิลำเนาในเขตเทศบาลเมืองคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวน 397 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางสำเร็จรูปของทาโร่ ยามาเน่ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


            ผลการวิจัยพบว่า 1)การใช้หลักสังคหวัตถุธรรมในการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนของเทศบาลเมืองคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.19, S.D =0.45) และทุกด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ หลักอัตถจริยา ค่าเฉลี่ย (= 4.36, S.D. = 0.56) รองลงมาคือ หลักปิยะวาจา ค่าเฉลี่ย (= 4.16, S.D.= 0.54) หลักสมานัตตตา ค่าเฉลี่ย (=4.11, S.D. = 0.54) และหลักทาน ค่าเฉลี่ย (=3.98, S.D.= 0.55) และ 2) แนวทางการส่งเสริมการใช้หลักสังคหวัตถุธรรมในการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนของเทศบาลเมืองคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เจ้าหน้าที่ของเทศบาลเมืองคลองแห (1)ควรมีการให้ความรู้ ความเข้าใจ ให้คําแนะนําต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนที่มารับบริการ (2)ควรตรวจสอบการใช้วาจาที่ไพเราะ อ่อนหวาน สุภาพอ่อนโยน พูดด้วยความจริงใจ (3)ควรให้การต้อนรับ อาสาให้ความช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ด้วยความกระตือรืนร้น และ (4)ต้องให้บริการที่มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรีฑา คงพยัคฆ์ (2563) การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุธรรมในการให้บริการสาธารณะของเทศบาลตําบลจันดี อําเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(1), 29-41.

ณัทกวี ศิริรัตน์ และคณะ. (2565). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : การบริการสาธารณะ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 12(1), 131-142.

ธิษณารินทร์ เหลืองจิรโชติกาล (2565) การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่กับการจัดบริการสาธารณะ ของเทศบาลในจังหวัดชุมพร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 16(1), 148-157.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

ธีระพล บุญตาระวะ (2563) การให้บริการประชาชนตามหลักพุทธธรรม. บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 8(2), 185-196.

พระนิทัศน์ วงศ์วังเพิ่ม และคณะ. (2565). นโยบายการให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองหว้า อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู. บัณฑิตแสงโคมคำ, 7(2), 300-317.

พระบุญช่วย ฐิตจิตฺโต (ยังสามารถ) (2565) การบริหารองค์กรทางสังคมชุมชนวิถีพุทธด้วยหลักสังคหวัตถุ 4. วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์, 2(2), 94-101.

พระบุญทัน ปญฺญาทีโป (2564) องค์ประกอบของสังคหวัตถุ 4. วารสารธรรมเพื่อชีวิต, 27(1), 11-26.

พระปลัดณรงค์ศักดิ์ วิสุทฺธิเมธี. (2562). สังคหวัตถุองค์ธรรมแห่งการสังคมสงเคราะห์. วารสารพุทธมัคค์ ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม, 4(2), 10-19.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). ธรรมนูญชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

พระโสภณ โสภโณ (ทองสม), พระครูโฆสิตวัฒนานุกูล และพระครูวิจิตรศีลาจาร. (2563). การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ของชุมชนวัดใหม่ทุ่งคาอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(3), 15-25.

มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย. (2563). ประไตรปิฎกฉบับภาษาไทย มหามกุฎราชวิทยาลัย. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย นครปฐม.

วิสิฏฐ์ คิดคําส่วน และเขมิกา ทองเรือง. (2566). การบริการสาธารณะของภาครัฐใหแก สังคม และประชาชน. วารสารการบริหารจัดการและนวัตกรรมท้องถิ่น, 5(3), 392-405.

สถาบันพระปกเกล้า. (2561). การกระจายอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

สมชัย นันทาภิรัตน์. (2565). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการจัดบริการสาธารณะอย่างมีคุณภาพ.วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 8(1), 114.127.

อรทัย ก๊กผล. (2552). การมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับนักบริหารท้องถิ่น. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.