ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และศักยภาพทางการแข่งขันของเกษตรกรผู้ปลูก ดอกมะลิในอำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ลักษณะการผลิต การตลาด ห่วงโซ่อุปทาน และศักยภาพทางการแข่งขันของเกษตรกรผู้ปลูกดอกมะลิ 2) วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนทางการเงินในการลงทุนปลูกดอกมะลิ และ 3) วิเคราะห์และวางแผนกลยุทธ์การดำเนินงานแก่เกษตรกรผู้ปลูกดอกมะลิ ใช้แนวคิดการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค พื้นที่วิจัย คือ อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกดอกมะลิ จำนวน 36 ราย ใช้วิธีการเลือกสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1. ต้นทุนการผลิตส่วนใหญ่ของเกษตรกรเป็นต้นทุนแปรผันที่เป็นค่าจ้างคนงานรายวัน ค่าผลิตภัณฑ์ทางเคมี และค่าปุ๋ยเคมี ตามลำดับ ราคาขายของดอกมะลิเป็นไปตามกลไกของท้องตลาดโดยมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อที่สวนหรือภายในหมู่บ้าน
2. เกษตรกรมีผลตอบแทนทางการเงินคุ้มค่าต่อการลงทุนและเกษตรกรที่มีพื้นที่ปลูกดอกมะลิขนาดใหญ่มีผลตอบแทนทางการเงินดีที่สุด
3. เกษตรกรที่ลงทุนในพื้นที่ขนาดเล็ก ควรขยายขนาดพื้นที่เพาะปลูกเพื่อการประหยัดต่อขนาดของต้นทุนและได้รับผลตอบแทนมากขึ้นและควรปรับเปลี่ยนเทคนิคการผลิตเพื่อลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงในราคาของปัจจัยการผลิตและเน้นให้ผลผลิตออกสู่ตลาดในช่วงที่มีความต้องการของผู้บริโภคสูงเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนปลูกดอกมะลิ
องค์ความรู้จากงานวิจัย ได้แก่ เกษตรกรควรขยายการลงทุนปลูกดอกมะลิในพื้นที่ที่ใหญ่ขึ้น เพราะการลงทุนในพื้นที่ขนาดใหญ่ขึ้นผลตอบแทนจะเพิ่มขึ้น ระยะเวลาคืนทุนเร็วขึ้น มีความคุ้มค่าในการใช้ต้นทุนคงที่มากขึ้น จึงทำให้มีการประหยัดต่อขนาดในต้นทุนเพิ่มมากขึ้นด้วย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2563). ระบบฐานข้อมูลเกษตรกรกลาง. ข้อมูลผู้ปลูกมะลิอำเภอเก้าเลี้ยวจังหวัดนครสวรรค์ สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2565 จาก http://farmer.doae.go.th/farmer/report_ act/reportTambon
จันทร์เพ็ญ เนตรวงศ์ษา. (2552). การปลูกดอกมะลิ. กรุงเทพฯ : ธนธัชการพิมพ์.
เชิญ ไกรนรา. (2556). การพัฒนาห่วงโซ่การผลิตและตลาดสินค้าเกษตรในพื้นที่ภาคกลางอย่างยั่งยืน. http://www.slideshare.net/choenkrainara/ss-17972857 .
ณปภัช เรียงแหลม. (2558). การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงิน ห่วงโซ่อุปทานและศักยภาพในการแข่งขันของเกษตรกรผู้ทำสวนองุ่นพันธุ์ไวท์มะละกาในอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี. เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณัฐวุฒิ โพธิ์ดี เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญและจินดา ขลิบทอง. (2564). การส่งเสริมการผลิตมะลิลาของเกษตรกรอำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ, มหาวิทยาลัย สุโขทัย ธรรมาธิราช ครั้งที่ 11, 26 พฤศจิกายน 2564.
ธนกร วัฒนากรวงศ์. (2561). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนทางการเงินจากการปลูกมังคุดพรีเมียมเกรด. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ธารทิพย์ โสดาหวัง (2563). การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินจากการลงทุนผลิตเมล่อนในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างของไทย. Economics and Business Administration Journal Thaksin University, 14(1), 43-62.
นเรศ จันอู๊ด. (2563). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนในการปลูกกล้วยหอมทองของเกษตรกรในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวิบูลย์สงคราม, 14(2), 564.
นิกข์นิภา บุญช่วย. (2560). การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกกล้วยน้ำว้าในเขตอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 10(1), 1884-1894.
บุณฑรี จันทร์กลับ และชลินธร ธานีรัตน์. (2558). ศึกษาการวิเคราะห์โซ่อุปทานของดอกมะลิ กรณีศึกษาตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 1, 94-107.
ปาริฉัตร พุ่มเปี่ยม. (2558). พฤติกรมการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกมะลิลา ในอำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ปริญญาส่งเสริมการเกษตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พัชริภา เหมืองหม้อ. (2554). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกสตรอเบอร์รี่ของเกษตรกรในตำบลบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่. เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มานิตย์ สิงห์ทองชัย.(2564). ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ต่อการตัดสินใจเลือกพื้นที่สำหรับปลูกพืชเศรษฐกิจ. วารสารวิชาการและนวัตกรรมทางสังคมศาสตร์, 4(1),113- 125.
มานิตย์ สิงห์ทองชัย.(2565). เศรษฐศาสตร์การจัดการผลิตและการตลาด. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ คณะ วิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
วัชรินทร์ กันธะ.(2553). ต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกดอกมะลิในตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานเกษตรอำเภอเก้าเลี้ยว. (2563). ข้อมูลเกษตรกรด้านการเกษตรต่าง ๆ .http://kaoliao.nakhonsawan.doae.go.th/kaoliao/Humphrey,
Albert. (1960). SWOT Analysis Theory. 28 Jan 2022, Retrieved from: https://rapidbi.com/history-of-the-swot-analysis/