การประเมินประสิทธิผลโครงการธงฟ้าประชารัฐของกระทรวงพาณิชย์ กรณีศึกษาเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร

Main Article Content

นันท์นภัส บุญโพธิ์
สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินประสิทธิผลของโครงการ “ธงฟ้าประชารัฐ” เขตพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร ในส่วนของบริบท (Context) ปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) และผลผลิต (Product) 2) เพื่อศึกษาปัจจัยประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันที่ส่งผลต่อการประเมินประสิทธิผลของโครงการธงฟ้าประชารัฐของประชาชน ในเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร 3) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินโครงการธงฟ้าประชารัฐ เขตพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร และ 4) เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาของโครงการธงฟ้าประชารัฐในอนาคต ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสาน โดยใช้แนวทางการประเมินผลแบบ CIPP ในด้านบริบทและสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ จังหวัดสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่าง คือ 1) ประชากรจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 400 คน 2) ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการธงฟ้าประชารัฐ ในเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 387 แห่ง 3) หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการธงฟ้าประชารัฐ จำนวน 5 หน่วยงาน กลุ่มตัวอย่างที่ 1 และ 2 ใช้วิธีคัดเลือกแบบสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ 3 ใช้วิธีคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด คือ 1) การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร 2) การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ 3) การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงอนุมาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. ตัวแทนประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 246 คน (ร้อยละ 61.5) มีอายุระหว่าง อายุ 56 ปีขึ้นไป 139 คน (ร้อยละ 34.80) โดยส่วนมากอาศัยอยู่อำเภอเมือง 200 คน (ร้อยละ 50.00) โดยมีระดับการศึกษาปริญญาตรี 133 คน (ร้อยละ 33.20) มีสถานภาพสมรส 215 คน (ร้อยละ 53.80) ประกอบอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว 175 คน (ร้อยละ 43.80) มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,000 – 10,000 บาท 105 คน (ร้อยละ 26.20) 2. การประเมินประสิทธิผลโครงการธงฟ้าประชารัฐ เขตพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 3.95) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับจากมากไปน้อย 3 ลำดับแรก คือ ด้านบริบทและสภาพแวดล้อม (𝑥̅ = 4.11) ด้านผลผลิตของโครงการ (𝑥̅ =4.02) และด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ (𝑥̅ = 3.85) 3.ความแตกต่างของเพศมิได้ส่งผลต่อการประเมินด้านบริบทและสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงเชิงนโยบาย


องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้ ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการประเมินประสิทธิผลโครงการธงฟ้าประชารัฐ ในเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร ในทุก ๆ ด้าน (ด้านบริบทและสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต) คือ ระดับการศึกษา และสถานภาพ

Article Details

How to Cite
บุญโพธิ์ น. ., & ศิริสรรหิรัญ ส. . (2024). การประเมินประสิทธิผลโครงการธงฟ้าประชารัฐของกระทรวงพาณิชย์ กรณีศึกษาเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 6(2), 122–135. https://doi.org/10.14456/jappm.2024.29
บท
บทความวิจัย

References

ขวัญทิพย์ แววสง่า. (2563). การศึกษาการรับรู้ประสิทธิผลของนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของ

ประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา. [สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์].

ชลธิรัตน์ ยิ่งสั้ว. (2563). ความคิดเห็นของผู้ประกอบการต่อผลการดำเนินโครงการธงฟ้าประชารัฐ อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. [สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม].

ชัยวัฒน์ จุวรรณ. (2564). การประเมินผลนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ในเขตอำเภอสกลนคร จังหวัดสกลนคร [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร].

ธนพล สราญจิตร์. (2558). ปัญหาความยากจนในสังคมไทย. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย,5(2),12-21

ประพล จิตคติ. (2561). ความพึงพอใจของประชาชนหมู่ 2 ต่อการใช้บริการร้านธงฟ้าประชารัฐ ตําบลอ่างทอง อําเภอเมือง จังหวัดกําแพงเพชร.สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชร.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2558). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการวิเคราะห์และประเมินโครงการ. https://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sec/Lom14/01-02-02.html

สุวรรณี แย้มพราย. (2562). การประเมินผลนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ กรณีศึกษาเขตลาดกระบัง [ปริญญานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].

เสาวลักษณ์ งามวิทย์โรจน์. (2561). การศึกษาการตอบสนองของประชาชนที่มีต่อนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ: ศึกษากรณีชุมชนนครไชยศรี กรุงเทพมหานคร. [การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง].

อัปสร อีซอ และคณะ. (2563). ปัญหาและความต้องการเพื่อการพัฒนาของผู้ประกอบการค้าปลีกธงฟ้าประชารัฐ จังหวัดยะลา.วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 7(1), 31-41