การศึกษาปัจจัยการพัฒนาองค์การอย่างยั่งยืนและคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์การ กรณีศึกษาธุรกิจอุตสาหกรรม การผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคในจังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยการพัฒนาองค์การอย่างยั่งยืน ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม ด้านการกำกับดูแลกิจการ ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงาน ด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและเป็นธรรม ด้านสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ ด้านการพัฒนาศักยภาพและความรู้ความสามารถ ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคง ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตงานกับชีวิตด้านอื่นที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในงาน และความผูกพันต่อองค์การ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ร่วมงานระดับหัวหน้างานขึ้นไปในกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 350 คน ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยการพัฒนาองค์การอย่างยั่งยืน ด้านการกำกับดูแลกิจการ (จริยธรรม/จรรยาบรรณ) ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงาน ด้านพัฒนาศักยภาพและความรู้ความสามารถ ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตงานกับชีวิตด้านอื่น ด้านความก้าวหน้าในงานและความมั่นคงส่งผลต่อความพึงพอใจในงาน ความพึงพอใจในงานส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การ ด้านการเชื่อมั่น ยอมรับเป้าหมายและค่านิยมขององค์การ ด้านความเต็มใจที่จะทุ่มเทความพยายามอย่างเต็มที่เพื่อองค์การ ด้านความปรารถนาที่จะรักษาไว้ซึ่งความเป็นสมาชิกภาพในองค์การ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กาญจน์ติมา เกษมสวัสดิ์. (2564). ปัจจัยภาวะผู้นำแบบยั่งยืนที่ผลต่อความพึงพอใจและความสำเร็จขององค์การที่รับรู้ได้ของพนักงานในอุตสาหกรรมผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สัญชาติไต้หวันแห่งหนึ่ง. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2550). สุดยอดภาวะผู้นำ: Super leadership. กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดีย.
งามนิจ รุ่งแสง. (2561). การศึกษาปัจจัยการพัฒนาองค์การอย่างยั่งยืนที่ส่งผลต่อผลสำเร็จขององค์การที่รับรู้ได้และความพึงพอใจของผู้แทนยาเจเนอเรชั่นวาย ตามแนวคิด Honeybee Leadership ในบริษัทยาข้ามชาติในประเทศไทย. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.
เจนจิรา เจริญผล, มัทนา แสงทอง, จันจิราภรณ์ ปานยินดี และวรญา ทองอุ่น. (2562). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับความพึงพอใจในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน บริษัทปลากระป๋องแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม. วารสารงานประชุมวิชาการระดับชาติ, 11(1), 647-665.
ชนากานต์ บุญทอง, เกษราภรณ์ สุตตาพงค์ และณัฐยา ยวงใย. (2562). กลยุทธ์การบริหารจัดการบุคลากรที่มีศักยภาพสูงเพื่อสร้างความได้เปรียบในองค์การ. วารสารนักบริหาร, 39(1), 24-35.
ณฐพร คุรุกุล. (2561). การศึกษาปัจจัยทางด้านภาวะผู้นาอย่างยั่งยืนที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและความสำเร็จขององค์การที่รับรู้ได้ขอ งพนักงานตามแนวคิด. Honeybee Leadership ในธุรกิจอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคแห่งหนึ่ง. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.
ณฐพร ฉายประเสริฐ วันเพ็ญ อยู่เป็นสุข, สุวภัทร ศรีสว่าง และชญชา สุดเวหา. (2560). การจัดการส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน โรงงงานอุตสาหกรรม จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 11(3), 72-80.
ธิดารัตน์ ผลถาวรกุลชัย และรัชนีวรรณ วนิชย์ถนอม. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำที่แท้จริง ความพึงพอใจในงาน และความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัทอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธีรเดช รัตนมณี และสุทธาทิพย์ กำธรพิพัฒนกุล. (2563). ภาวะผู้นำที่แท้จริงมีผลต่อความพึงพอใจในงานและความผูกพันในงานของพนักงานฝ่ายปฏิบัติการของบริษัท รวมถาวรขนส่ง จำกัด. การประชุมวิชาการระดับชาติ RTBEC 2020. 354 – 364.
ประภาพร ชุลีลัง, (2561). โมเดลสาเหตุของความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 36(2), 101-119.
พรรณภรณ์ จอมเมือง. (2561). การศึกษาปัจจัยภาวะผู้นำอย่างยั่งยืนที่มีผลต่อความพึงพอใจของพนักงานตามแนวความคิด Honeybee leadership ในธุรกิจไพรเวทแบงค์กิ้งในประเทศไทย. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.
เมริษา พันธ์ขะวงษ์. (2564). การศึกษาปัจจัยการพัฒนาองค์การอย่างยั่งยืนที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและความสำเร็จขององค์การที่รับรู้ได้ของบุคลากรทางการแพทย์ เจเนอเรชั่น วาย ในสถานพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่ง เขตกรุงเทพมหานคร ตามแนวคิด Sustainable Leadership. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.
รสสุคนธ์ ภู่น้อย และชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา. (2562). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานบริษัทในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ชลบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 13(44), 58-69.
วิลาสินี สุทธิผล. (2565). ปัจจัยคุณภาพชีวิตที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและความผูกพันของพนักงาน กลุ่มธุรกิจส่งออกในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศศิธร พงษ์คะนึง. (2562). ปัจจัยภาวะผู้นำอย่างยั่งยืนขององค์การที่มีผลต่อความพึงพอใจของพนักงานและความสำเร็จขององค์การที่พนักงานรับรู้ได้ ในองค์การสุขภาพตามแนวคิด Sustainable Leadership. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (2564). คู่มือการพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ (องค์การมหาชน).
สาธิต วิกรานต์ธนากุล และสมยส อวเกียรติ. (2559). ปัจจัยเชิงที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรธุรกิจ ศูนย์การค้าเช็นทรัล. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 14(1), 44-53.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์. (2566). คู่มือการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์.
อารีย์ หวังเจริญ. (2566). หลักการจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
Alex, A., & Sundar, V. (2019). The Influence of Factors of Quality of Work – Life with Job Commitment, Job Satisfaction and Job Stress in the Transport Sector. International Journal of Recent Technology and Engineering (IRTE), 8750-8763.
Alutto, J. A., & Hrebiniak, L. G. (1970). The effective corporate executive: Analysis of a stereotype among university students. The Public Opinion Quarterly, 34(4), 617-620.
Effat, J., Mostafa, M., Najmeh, N. N., & Fatemch, B. (2018). Quality of Work Lift and Job Satisfaction Employees of Health Centers in Ahvaz. Iran Jundishapur J Health Sci, 10(1), 1-7.
Florence, M. (2016). The Influence of Personality on the Relationship between Quality of Work Life and Job Satisfaction among Academic Staff in Kenyan Public Universities. British Journal of Economics, Management & Trade, 15(2), 2-10.
George, D., & Mallery, P. (2010). SPSS for Windows Step by Step: A Simple Guide and Reference 17.0 Update (10th ed.). Boston: Pearson.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). New York: Pearson.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2006). Multivariate data analysis (6th ed.). New Jersey: Pearson.
James, L. M., & Schermerhorn, J. (1996). Management and Organizational Behavior. New York: John Wiley and Sons.
Kaliski, B. S. (2007). Encyclopedia of Business and Finance (2nd ed). Detroit: Thompson Gale.
Kamthornphiphatthanakul, S., Kerdngern, N., Somthong, N., & Sangsunt, P. (2022). Influence of Quality of Working Life on Job Satisfaction, Organizational Trust, and Employee Engagement: A Case Study of the Multinational Company in Bangkok, Thailand. SSRG International Journal of Economics and Management Studies, 9(12), 56-63.
Korman, A. K. (1977). Organizational Behavior. New Jersey: Prentice Hall.
Lawler, E. E., & Porter, L. W. (1967). The effect of performance on job satisfaction. Industrial Relations, 7(1), 20–28.
O’brien, R. M. (2007). A Caution Regarding Rules of Thumb for Variance Inflation Factors. Qual Quant. 41, 673–690.
Smith, C. A. (1983). Organizational citizenship behavior: Its nature and antecedents. Journal of Applied Psychology, 68(4), 653–663.
Steers, R. M. (1977) Antecedents and Outcomes of Organizational Commitment. Administrative Science Quarterly, 22(1), 46-56.
Steers, R. M., & Porter, L. W. (1983). Motivation and Work Behavior. New York: McGraw-Hill.
Suifan. T. S. (2019). The Effect of Organizational Justice on Employees’ Affective Commitment. Modern Applied Science, 13(2), 42–53.
Tabachnick, B. G., & Fidell, L. S. (2001). Using Multivariate Statistics (4th ed.). Boston: Allyn and Bacon.
Walton, R., E. (1974). Improving the Quality of Work Life. Harvard Business review, 4(7), 12–14.
Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper & Row.