การบริหารสถานศึกษาภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์1)เพื่อศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก 2)เพื่อเปรียบเที่ยบสภาพการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 จําแนกตาม ตำแหน่ง และขนาดของสถานศึกษา และ3)เพื่อเสนอแนวทางการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนและผู้บริหารในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก จำนวน 292 คน จากการเทียบตารางกำหนดกลุ่มตัวอย่างของทาโร ยามาเน วิธีการได้มาของกลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มอย่างง่าย ใช้วิธีตารางเลขสุ่ม (Table of Random Numbers) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า1)ระดับการบริหารสถานศึกษาภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ย การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการและเชื่อมโยงประสบการณ์ในชีวิตประจำวันของผู้เรียน 2)ผลการเปรียบเที่ยบสภาพการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา จําแนกตาม ตำแหน่ง และขนาดของสถานศึกษา ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน 3)แนวทางการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 พบว่าผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีการวางแผน ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูผู้สอนมีการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิตเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กิจ ลิมปิจำนงค์. (2563). การบริหารสถานศึกษาภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
จันทรานี สงวนนาม. (2553). ความสำเร็จในการบริหารงานสถานศึกษาภายใต้สถานการณ์วิกฤต. วารสารการบริหารการศึกษา, 3(2), 25-40.
ดนัย อันฤดี. (2551). การจัดการเรียนร่วมในโรงเรียนเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1 และ เขต 2 ตามโครงสร้างชีท (SEAT Framework). (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ดิลฉัตร ซุสสุโพวา. (2566). ผลกระทบสำคัญ 5 ด้าน ของโรคโควิด-19 ที่มีต่อเด็กในประเทศไทย. จาก https://www.unicef.org/thailand/th/stories
พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2563). รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาหลังวิกฤตโควิด-19. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มลฤดี สวนดี. (2565). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรีเขต 1 .(วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
รัตนา กาญจนพันธุ์. (2563). การพัฒนาทักษะการสอนและการใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้หลังโควิด-19. วารสารการศึกษาและสังคม, 5(1), 15-30.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2564). แนวทางการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19. วารสารเทคโนโลยีและการศึกษา, 4(2), 12-21.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2565). มาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้. กรุงเทพฯ.
สุไฮดา หมัดเลียด. (2563). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านสนับสนุนการศึกษาของบุคลากรในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยทักษิณ.
CGS Blog. (2564). Training and Development for the Next Normal. from. https://www.cgsinc.com/blog/training-and-development-next- normal-lrn