การวิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์2ประการ1)เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่21ของนักเรียนโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์และ2)เพื่อยืนยันองค์ประกอบการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่21ของนักเรียนโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์
บทความนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 941 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 315 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
ผลการวิจัยพบว่า1)องค์ประกอบการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านการวางแผนจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการนำหลักสูตรสถานศึกษาไปใช้ ด้านการประเมินหลักสูตรสถานศึกษา และด้านทักษะในศตวรรษที่ 21 และ 2)องค์ประกอบของการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่า = 188.57, df=165 p=0.010 /df=1.14 ,GFI=0.95, AGFI =0.92 , RMSEA=0.021 , RMR =0.019 และ SRMR=0.042
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมลฉัตร กล่อมอิ่ม. (2562).การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษา สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(7), 334.
จรุณี เท้าเอี้ยน. (2557). เทคนิคการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา กลยุทธิ์และแนวทางการปฏิบัติสำหรับผู้บริหารมืออาชีพ. ชานเมืองการพิมพ์.
จิติมา วรรณศรี. (2557). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. รัตนสุวรรณการพิมพ์ 3.
ชวลิต ชูกำแพง. (2561). การพัฒนาหลักสูตร. ทีคิวพี จํากัด.
นันทวัน จันทร์กลื่น. (2558). การศึกษาปัญหาและแนวทางการบริหารจัดการคุณภาพในการพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21: โรงเรียนบ้านเนินมะปราง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุบลราชธานี].
เบญจวรรณ ถนอมชัยธวัช. (2559). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: ความท้าทายในการพัฒนานักศึกษา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาค,
(2), 208-222
พิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2560). ภาวะผู้นำกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. วารสาร มจร การพัฒนา สังคม, 2(1).20-29
มนลิช สิทธิสมบูร. (2560). ระเบียบวิธีวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 10). คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เรณู บุญเสรฐ. (2561). รูปแบบการบริหารหลักสูตรสู่ประสิทธิผลการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัย
นเรศวร].
รัตนา คำเพชรดี. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารหลักสูตรที่มีประสิทธิผลของโรงเรียน มัธยมศึกษาขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
[วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร].
วารีรัตน์ แก้วอุไร. (2564). เอกสารการสอน การพัฒนาหลักสูตรและการสอน. ภาควิชาการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วิจารณ์ พานิช. (2556). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.
ศศิณัฏฐ์ สรรคบุรานุรักษ์ และอติยศ สรรคบุรานุรักษ์. (2558). การบริหารจัดการหลักสูตรในศตวรรษ ที่ 21: ห้องเรียนที่กว้างเท่ากับโลก. วารสารวิชาการและวิจัย
สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์, 10(8), 1-14.
ศุภานัน สิทธิเลิศ. (2558). ความเป็นครูวิชาชีพ. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. (2561, 9 มิถุนายน). ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (The Twenty-First Century Skills). TruePlookpanya.
https://www.trueplookpanya.com/education/content/66054
สมลักษณ์ พรหมมีเนตร. (2561). คู่มือการบริหารงานวิชาการที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางของ ผู้บริหาร. หน่วยศึกษานิเทศก์กรมสามัญศึกษา.
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2560). แนวทางจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21" 21st
Century Skills". https://secondary.obec.go.th/newweb
Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2010). A beginners guide to structural equation modeling.Routledge.