สมการพยากรณ์การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์1)เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์2)เพื่อวิเคราะห์การมีส่วนร่วมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา3)เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับการมีส่วนร่วมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาและ4)เพื่อนำเสนอสมการพยากรณ์การมีส่วนร่วมการดำเนินงานประกันคุณภาพในสถานศึกษา
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่างจำนวน 286 คนโดยวิธีกําหนดขนาดของทาโร ยามาเน่ เครื่องมือในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ1)แบบสัมภาษณ์ และ 2) แบบสอบถาม สถิติที่วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ
ผลการวิจัยพบว่า 1.ระดับปัจจัยการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2.ระดับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3.ปัจจัยและการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4.ปัจจัยการมีส่วนร่วมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา โดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ เท่ากับ 0.622 พยากรณ์การมีส่วนร่วมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาร้อยละ 38.70 สร้างสมการพยากรณ์ได้ดังนี้
สมการพยากรณ์รูปแบบคะแนนดิบ
Y ̂ = .339 + .203(X1) - .149(X2) + .776(X3)
สมการพยากรณ์รูปแบบคะแนนมาตรฐาน
Z ̂ = .385(Z1) - .135(Z2) + .640(Z3)
องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้เป็นประโยชน์ นำไปวางแผนพัฒนา ปรับปรุงการดำเนินงานประกันคุณภาพการศีกษาของสถานศึกษา ให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนกนต จิรณัฐธนากุล. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 9(3), 145-153.
กัญญา ผันแปรจิตต์ และคณะ. (2559). รายงานการวิจัยเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของอาจารย์ประจำหลักสูตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
ณัชฐปกรณ์ สีหะวงษ์สกุล. (2563) . ปัจจัยในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 17(76), 280-288.
นารี โม่งปราณีต. (2557). การดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามทฤษฏีวงจรคุณภาพเดมมิ่ง (PDCA) สำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6. (งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
เบญจมาศ บัวรุ่ง. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ องค์การมหาชน. (สารนิพนธ์ศิปลศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปรารถนา อังคประสารทชัย. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พัทธนันท์ โพธิ์เขียว,ประยูร อิ่มสวาสดิ์ และสุเมธ งามกนก. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 20(20), 137-151.
รตวรรณ ประวิรัตน์ (2559). รายงานการวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม: สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2566. สืบค้นเมื่อ15 เมษายน 2566, จาก http://www.sesaopkn.go.th/sesaopk/Plan/Plan66/.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). คู่มือการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาตาม กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันการศึกษา พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2563). คู่มือแนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สุรชัย จันทร์นุ่น. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษารัฐบาล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
Cronbach, L. J. (1974). Essentials of Psychological Testing. (3rd ed.). New York: Harper and Row.
Likert, R. (1967). The human organization: Its management and value. NEW York: McGraw-Hill.
Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.