กลยุทธ์นวัตกรรมการจัดการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในเขตภาคกลางตอนล่างของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ1)เพื่อพรรณนาการจัดการเพื่อยกระดับกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในเขตภาคกลางตอนล่างของประเทศไทย2)เพื่อระบุปัญหาการจัดการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในเขตภาคกลางตอนล่างของประเทศไทยและ3)เพื่อเสนอกลยุทธ์นวัตกรรมการจัดการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในเขตภาคกลางตอนล่างของประเทศไทยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 16 คน ได้แก่ ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจำนวน 12 ท่าน เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตรที่เกี่ยวข้องกับงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจำนวน 4 ท่านเป็นการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured Interview) วิเคราะห์ข้อมูลแบบแก่นสาระ
ผลการวิจัยพบว่า 1.กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีการจัดการเพื่อยกระดับตามแนวทางของกรมส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำนวน 5 มิติ ได้แก่ 1) มิติด้านการจัดการ 2) มิติด้านการจัดการทุนและทรัพยากร 3)มิติการพัฒนาความรู้ความสามารถของสมาชิก 4) มิติด้านการพัฒนาสินค้าและบริการ 5) มิติด้านการบริการสาธารณะประโยชน์และรักษาทรัพยากรธรรมชาติโดยมีแบ่งเกณฑ์การประเมินเป็นทั้งหมด 3 ระดับ ได้แก่ 1)ระดับดี 2)ระดับปานกลาง 3)ระดับปรับปรุง 2.ปัญหาการจัดการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร มีดังนี้ 1) ด้านกลยุทธ์ ยังขาดการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดที่ชัดเจน 2)ด้านโครงสร้างรูปแบบการจัดโครงสร้างยังไม่ชัดเจน 3)ด้านรูปแบบ ยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานที่ชัดเจน 4)ด้านระบบ ยังไม่มีการจัดการที่เป็นระบบ 5)ด้านบุคลากร ยังขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน และมีบุคลากรไม่เพียงพอกับงาน 6)ด้านทักษะยังขาดทักษะทางด้านการตลาด และ ด้านบริหารจัดการองค์กร 7)ด้านค่านิยมร่วม กลุ่มยังขาดการกำหนดค่านิยมร่วมในองค์กรและขาดการผลักดันให้เกิดค่านิยมร่วมกันภายในกลุ่ม 3.เสนอกลยุทธ์นวัตกรรมการจัดการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรซึ่งมีทั้งหมด 3 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) ระดับองค์กร ใช้กลยุทธ์ การเติบโต 2) ระดับธุรกิจ ใช้กลยุทธ์ ความแตกต่าง และการสร้างความแข็งแกร่งต่อระบบองค์กร 3)ระดับหน้าที่ใช้กลยุทธ์ นวัตกรรมตามภาระกิจ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2563). การดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร. กลุ่มพัฒนาแม่บ้านเกษตรกรและเคหกิจเกษตร กองพัฒนาเกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2566). เข้าถึงได้จาก https://shorturl.asia/C2FWM
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2566). แผนปฏิบัติราชการกรมส่งเสริมการเกษตร ระยะ 5 ปี (2566 – 2570). เข้าถึงได้จาก https://shorturl.asia/Lc8Cx
ณัฎฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2556). การจัดการเชิงกลยุทธ์ ฉบับปรับปรุงใหม่ Strategic Management. กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์ (1991).
สมพร ศิลป์สุวรรณ์. (2550). HR กับการพัฒนาองค์กรสู่ High Performance Organization. (ในเอกสารประกอบ การสัมมนาวิชาการและการบรรยาย วันที่ 15-16 พฤศจิกายน 2550 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์คอนเวนชั่น กรุงเทพ). สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย.
ศิริพร เป็งสลี. (2554). การกำหนดทางเลือกกลยุทธ์ในการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ เทศบาลเขลางค์นคร (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Decharin, P. (2007). Organization of Learning Organizational Culture. Weekly Manager, 20(1064), (In Thai).
Iamsri, E. ( 2011) . Modem Management Forum. Retrieved January 14, 2021, from https://eiamsri.wordpress.com/author/eiamsri/page/11/. (In Thai)
Meejaisue, P. (1999). Strategic Management. Bangkok : Ramkhamhaeng University (In Thai).
Thomas J. Peters and Robert H. Waterman, Jr. (1982). In search of excellence. New York: Harper & Row.
Schermerhorn, J. R., Jr. (1999). Management (6th ed.). New York: John Wiley & Sons.
Waterman Jr, R. H., Peters, T. J., and Phillips, J. R. (1980). Structure is not organization. Business horizons, 23(3), 14-26.