การจัดการเครือข่ายสหกิจศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมของแรงงาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาด้านเครือข่ายของสถานประกอบการ
และสถาบันอุดมศึกษาในการจัดการสหกิจศึกษา 2) เพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเครือข่ายสถานประกอบการในการจัดเตรียมความพร้อมของแรงงาน และ 3) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านเครือข่ายและความร่วมมือระหว่างสถานประกอบการกับสถาบันอุดมศึกษา รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แนวคิดการจัดการเครือข่ายเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัยประกอบด้วยสองกลุ่มพื้นที่คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 6 แห่งและสถานประกอบการ กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรในสถาบันการศึกษาและบุคลากรในสถานประกอบการจำนวน 28 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง (purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า
ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 มีปัญหาการไม่ดำเนินการตามมาตรฐานสหกิจศึกษาเพราะภาคีเครือข่ายต่างขาดความรู้ ความเข้าใจ ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เครือข่ายควรพัฒนากระบวนการก่อรูปและการใช้ประโยชน์เครือข่ายสหกิจศึกษา ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 สถานประกอบการและสถาบันอุดมศึกษาต้องผลักดันนโยบายทางคุณธรรม จริยธรรม เพื่อการจัดการเครือข่ายสหกิจศึกษาที่มีคุณภาพ การวิจัยพบประเด็นสำคัญในการเตรียมความพร้อมแรงงานให้มีสมรรถนะที่สูง แรงงานต้องได้รับการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ผ่านการจัดการเครือข่ายที่ตระหนักถึง การใช้ประโยชน์ของเครือข่ายมีการส่งเสริมและผลักดันจากรัฐบาลในการบังคับใช้มาตรฐานสหกิจศึกษา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2543). จอมปราชญ์นักการศึกษา: สังเคราะห์ วิเคราะห์ และประยุกต์แนวพระราชดำรัสด้านการศึกษาและพัฒนาคน. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธา.
จิตรา วสุวานชิ. (2548). สุขภาพจิตและการปรับอารมณ์. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
ณัฐชา ธำรงโชติ และคณะ. (2555). ปัญหาและอุปสรรคในการรับนักศึกษาเข้าปฏิบัติงานสหกิจศึกษาตามแนวความคิดของสถานประกอบการ: กรณีศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ดลิน กิจสมัย. (2548). ความพร้อมในการเข้าสู่การประกันสังคมของแรงงานนอกระบบ: กรณีศึกษา คนขับรถแท็กซี่ในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
บุปผา ภิภพ และคณะ. (2559). คุณสมบัติที่พึงประสงค์ของนักศึกษาสหกิจศึกษาของสถานประกอบการที่เข้าร่วมสหกิจศึกษา. วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 10(1), 74-85.
ประทวน กลิ่นพินิจ. (2551). ความพร้อมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของเทศบาลตำบลในจังหวัด อุตรดิตถ์. ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์.
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น). (2547). เครือข่าย: ธรรมชาติ ความรู้ และการจัดการ. กรุงเทพฯ: โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.).
ริประภา พรหมมา และมนตรี โสคติยานุรักษ์. (2565). ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ในบริบทของความร่วมมือเพื่อผลิตและพัฒนาแรงงาน. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(6), 239-254.
วิชิต นันทสุรรณ และจำนงค์ แรกพินิจ. (2545). บทบาทของชุมชนกับการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สมาคมสหกิจศึกษาไทย. (2552). มาตรฐานและการประกันคุณภาพการดำเนินงานสหกิจศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นครราชสีมา: สมาคมสหกิจศึกษาไทย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). บทบาทของชุมซนกับการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2551). แผนการดําเนินงานส่งเสริมสหกิจศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ระหว่างปี พ.ศ. 2551-2555. พิมพครั้ง 2. กรุงเทพฯ: แปลน พริ้นติ้ง.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.(2551). แผนการดำเนินการส่งเสริมสหกิจศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2556-2558. กรุงเทพฯ: พิมพ์รุ่ง.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2552-2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
DeLorenzo, D. R. (2000). The relationship of cooperative education exposure to career decision-making self-efficacy and career locus of control. Journal of Cooperative Education, 35, 15-24.
Hayward, C. and. Horvath. P. (2000). The effect of cooperative education on occupational beliefs. Journal of Cooperative Education, 35(1), 7-14.
Lindgren, B.W. (1962). Statistical Theory. New York: Chapman and Hall.
Thorndike, E.L. (1913). Education Psychology Briefer Course. New York: Routledge.