ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมรับการฝึกอบรมระยะสั้น การวิจัยเชิงคุณภาพ ภาคภาษาไทย แบบออนไลน์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการในการเข้าฝึกอบรมระยะสั้น และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมรับการฝึกอบรมระยะสั้น การวิจัยเชิงคุณภาพ ภาคภาษาไทย แบบออนไลน์ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กรณีศึกษาของสถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินการสำรวจความต้องการของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นผู้เข้ารับการอบรมของสถาบันวิจัยประชากรและสังคมในช่วงปี 2551-2562 จำนวน 299 คน ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสนใจเข้ารับการอบรมของสถาบันฯ โดยใช้การวิเคราะหการถดถอยโลจิสติกแบบทวิ (binary logistic regression analysis) พบว่า อายุมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมการฝึกอบรมแบบออนไลน์ฯ โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุระหว่าง 40 – 50 ปี มีโอกาสตัดสินใจเข้าร่วมการฝึกอบรมแบบออนไลน์ฯมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ถึงสองเท่า (Adjusted odd ratio: AOR = 2.07; P-value= 0.02) และช่องทางการอบรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิคมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมการฝึกอบรมฯอย่างมาก โดยพบว่า ผู้ที่ให้ความสำคัญกับการมีช่องทางออนไลน์หรือการมีช่องทางการอบรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิค จะมีโอกาสเข้าร่วมรับการอบรมในอนาคตมากว่ากลุ่มตัวอย่างที่ไม่เห็นความสำคัญ 1.57 เท่า ในขณะที่ ปัจจัยความต้องการด้านอื่น ๆ ไม่ได้ส่งอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมการฝึกอบรมในอนาคตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาชี้ถึงความจำเป็นในการเตรียมพร้อมจัดให้บริการหลักสูตรอบรมระยะสั้นแบบออนไลน์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนกวรรณ ปิ่นแก้ว. (2561). การหาความต้องการในการฝึกอบรม (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เจิดจันทร์ พลดงนอก. (2555).การพัฒนาระบบการฝึกอบรมออนไลน์แบบสอนงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการใช้เทคโนโลยีธนาคารพาณิชย์ (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณทิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทัศนัย ดีวัฒนานนท์ และญาณพล แสงสันต์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการฝึกอบรมในการเพิ่มขีดความสามารถให้พนักงานธนาคารในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต และลดช่องว่างของสมรรถนะที่ไม่เหมาะสมต่อการขาย (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
น้องนุช ธราดลรัตนากร และ ณัฐพล รำไพ. (2563). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมออนไลน์ด้วยเทคโนโลยีมัลติมีเดียเชิงปฏิสัมพันธ์ตามแนวคอนสตรัคติวิสซึมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีของครูประจำการ. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2564, จาก https://so04.tci-thaijo.org/index. php/ NRRU/ article/view/240323
นริศรา บุญเที่ยง. (2561). ความพร้อมในการฝึกอบรม กระบวนการฝึกอบรม และความพึงพอใจในการฝึกอบรมที่มีผลต่อแรงจูงใจในการนำการฝึกอบรมไปพัฒนาในการทำงานของพนักงานธนาคารพาณิชย์ในโซนถนนรัชดาภิเษก (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วรวุฒิ มั่นสุขผล. (2557). การพัฒนารูปแบบฝึกอบรมออนไลน์โดยการเรียนรู้แบบร่วมกัน เพื่อพัฒนาสมรรถนะการออกแบบอีเลิร์นนิงเพื่อการเรียนการสอนของอาจารย์ ระดับอุดมศึกษา. วารสารวิชาการ Veridlan E-Journal (ฉบับมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ), 7(3), 784-799.
วริศรา ไข่ลือนาม. (2560). ฐานข้อมูลการจัดฝึกอบรมระยะสั้น หลักสูตรภาษาไทยของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
วิทยา วโย และคณะ (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 : แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 9(14), 285-298.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2564, จาก http://nscr.nesdb.go.th/%
Accessplanit. (2020). The accessplanit Training Industry Benchmark Report 2020. Retrieved November 5, 2022, from https://www.accessplanit.com/en-gb/guides/the-accessplanit-training-industry-benchmark-report-2020
Bonk, C.J. (2002). Online training in an online world, Bloomington, Retrieved September 2, 2022, from https://www.publicationshare.com/docs/corp_survey.pdf
Dede, C. (2008). The Role of ICTs in the evolution of graduate education. Washington D.C.: Council of Graduate Schools.
Narushima, M., Liu, J., & Diestelkamp, N. (2018). Lifelong learning in active ageing discourse: Its conserving effect on wellbeing, health and vulnerability. Ageing & Society, 38(4), 651-675.
Schleischer, A. (2015). Education for the 21st Century. Retrieved October 12, 2022, from bigthink.com/bigthinkgesf/educating-for-the-21st-century-2