การพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัยจากสภาพปัญหาการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลเมืองพิมลราช อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

สรยา แสวงศรี
ศิริรัตน์ ทองมีศรี
ระติกรณ์ นิยมะจันทร์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลเมืองพิมลราช อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี 2) ศึกษาแนวทางแก้ปัญหาและการวางแผนการจัดการศึกษาปฐมวัยฯ ในอนาคต และ 3) เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัยฯ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน พื้นที่วิจัย คือศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลเมืองพิมลราช อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี  กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 125 คน ได้จากการใช้วิธีเลือกแบบง่าย และผู้ให้ข้อมูลแบบสัมภาษณ์ คือ หัวหน้าศูนย์ ครูผู้แลเด็ก และคณะกรรมการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 11 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติพื้นฐาน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก  2) แนวทางแก้ปัญหาและการวางแผนการจัดการศึกษาปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในอนาคต คือ จัดทำแผนพัฒนาการจัดศึกษาโดยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ปรับปรุงอาคารเรียนและสนามเด็กเล่นให้เอื้อต่อการเรียนรู้ มีมาตรฐานและปลอดภัย จัดหาบุคลากรให้เหมาะสมตามมาตรฐานตำแหน่ง ส่งเสริมให้ครูผู้ดูแลเด็กได้รับการพัฒนาวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอ ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานสาธารณสุขในด้านการส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย มีส่วนร่วมกับชุมชนและท้องถิ่นในการพัฒนาการศึกษา และสร้างเครือข่ายร่วมกับหน่วยงานอื่นอย่างเป็นรูปธรรม และ 3) ข้อเสนอแนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามวงจรคุณภาพ PDCA ประกอบด้วย 6 ด้าน 18 องค์ประกอบ 175 แนวทางปฏิบัติ

Article Details

How to Cite
แสวงศรี ส. . ., ทองมีศรี ศ. ., & นิยมะจันทร์ ร. . (2024). การพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัยจากสภาพปัญหาการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลเมืองพิมลราช อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 6(2), 1–16. https://doi.org/10.14456/jappm.2024.21
บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2560). คู่มือแนวทางการจัดทำหลักสูตรของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. จังหวัดนนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.. (2559). มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พุทธศักราช 2559. กรุงเทพ: ม.ป.ท.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. . (2553). มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

กฤติกานต์ ไกลยา. (2560). การบริหารคุณภาพทั้งองค์กรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับบัณฑิตวิจัยศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 11(3), 13-24.

ทองลักษณ์ ทัดทา. (2559). แนวทางการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 35(3), 85-95.

นิจรา สารีอาจ. (2562). ปัญหาและแนวทางการจัดการศึกษาปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองบัวลำพู. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 16(74), 92-105.

นิตยา มาลา. (2565). แนวทางการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจัยวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. 5(5), 187-203.

ปรัศญาภรณ์ วัดพ่วงแก้ว. (2558). แนวทางการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลคลองแม่ลาย อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร (การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยกำแพงเพชร.

พงษ์ไทย อัยวรรณ. (2558). สภาพและแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแก้ว อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์(วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธุ์.

เพ็ญโสภา เทพปัน. (2558). สภาพและปัญหาการดำเนินการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัญฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย). วิทยาลัยเชียงราย.

ภาคิม จิรจตุรพรกุล. (2560). แนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงดาว ตามมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

รัศมี ตู้จินดา. (2557). การบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสิงห์บุรี (การค้นคว้าอิสระครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี.

วิจิตร วิชัยสาร. (2560). การพัฒนาการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลคลองสี่ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. 7(3), 93-101.

ศิริดาว โพทธิ์สิงห์. (2563). การพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการตามเกณฑ์มาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดมหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 9(2), 95-105.

สุรัตน์ สุทธิชัชวาล. (2555). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพงานวิจัยในชั้นเรียน (ปริญญาดุษฏีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์.

สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). Policy Brief เรื่อง แนวทางการขยายผลการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยกรณีศึกษา:การพัฒนาคุณภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ.2564–2570. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ.2560 –2564. กรุงเทพฯ: สำนักคณะกรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

Best, J.W. (1983). Recerch in Education. Boston: Allyn and Bacon.

Krejcie, R.V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educetional and Phychological Measurement. 30(3). 607-610.

Likert, R. (1961). New Patterns of Management. New York: McGraw-Hill.