แนวทางการปรับปรุงการดำเนินงานของฝ่ายตรวจสอบภายในขององค์การมหาชน สู่การเป็นองค์การแห่งความเป็นเลิศ

Main Article Content

พรชัย คำแหงพล
กฤษดา เชียรวัฒนสุข

บทคัดย่อ

องค์การมหาชนเป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ แม้ว่าจะมีความเป็นอิสระในการดำเนินงาน แต่จะต้องมีการรายงานการจัดสรรงบประมาณให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบวินัยการเงินการคลัง ทำให้องค์การมหาชนจำเป็นต้องมีการตรวจสอบภายใน การควบคุมภายใน และการบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานและหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยกระทรวงการคลังโดยมาตรฐานในการดำเนินการตรวจสอบภายในเป็นการกำหนดแนวทางให้ผู้ตรวจสอบภายในปฏิบัติตาม ซึ่งแนวทางในการดำเนินงานของฝ่ายตรวจสอบภายในขององค์การมหาชนที่จะต้องยึดถือได้แก่ มาตรฐานความเป็นอิสระและความเที่ยงธรรม มาตรฐานความเชี่ยวชาญและการใช้ความระมัดระวังในการประกอบวิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในมาตรฐานการรายงานผลการตรวจสอบ และมาตรฐานการติดตามผลการตรวจสอบภายใน


การนำองค์การมหาชนสู่องค์การแห่งความเป็นเลิศคือการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการดำเนินงาน การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า การเป็นแหล่งกำเนิดนวัตกรรม และการสร้างความมีส่วนร่วมของพนักงาน ซึ่งจะต้องอาศัยวิสัยทัศน์ของผู้นำที่ชัดเจน ดังนั้น การพัฒนาและปรับปรุงงานขององค์การมหาชนจะต้องมีการวางแผนการตรวจสอบภายในให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์องค์การแห่งความเป็นเลิศ ปฏิบัติตามมาตรฐานและจริยธรรมการตรวจสอบภายใน นำระบบสารสนเทศช่วยในการตรวจสอบ และมีการประเมินผลการดำเนินงานของฝ่ายตรวจสอบภายใน จึงจะสามารถนำพาองค์การมหาชนไปสู่การเป็นองค์การแห่งความเป็นเลิศ

Article Details

How to Cite
คำแหงพล พ., & เชียรวัฒนสุข ก. (2023). แนวทางการปรับปรุงการดำเนินงานของฝ่ายตรวจสอบภายในขององค์การมหาชน สู่การเป็นองค์การแห่งความเป็นเลิศ. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 5(2), 1–15. https://doi.org/10.14456/jappm.2023.16
บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงการคลัง. (2566). กองตรวจสอบภาครัฐ กรมบัญชีกลาง, หลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2566 (ที่ กค 0409.2/ว 55 ลว. 16 มีนาคม 2566). สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2566, จาก https://www.cgd.go.th/cs/internet/internetสพต-ระเบียบ.html?page

กองตรวจสอบภาครัฐ กรมบัญชีกลาง. (2562). หลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2566, จาก https://www.cgd.go.th/cs/internet/internetสพต-ระเบียบ.html?page

แคทรียา เรืองเจริญ และพรรณทิพย์ อย่างกลั่น. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อมาตรฐานด้านการปฏิบัติงานการตรวจสอบภายในมุมมองของผู้รับการตรวจสอบ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. Journal of Modern Learning Development, 7(11), 141-151.

ดารารัตน์ วงค์สถาน. (2558). การพัฒนากระบวนการตรวจสอบภายในของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5 (การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เทอดธิดา ทิพย์รัตน์. (2555). การวางแผนตรวจสอบภายในแบบบูรณาการตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ. วารสารปาริชาต, 25(3), 85-94.

ธรรมรัตน์ มีธรรม. (2558). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิผลของงานตรวจสอบภายในกรณีศึกษา องค์การมหาชน (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

นริศรา ธรรมรักษา. (2563). ผลกระทบของทักษะในการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในที่มีต่อคุณภาพรายงานการตรวจสอบภายในของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดเลย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 15(51), 24-32.

บรรดาศักดิ์ ชูสาย และกนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธ์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพรายงานตรวจสอบภายในของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 8(1), 19-34.

ประสิทธิ์ รุ่งเรือง, มีพร หาญชัยสุขสกุล, จาริณี เธียรเจริญ และปทุมพร ชโนวรรณ. (2562). ความเป็นอิสระจากการตรวจสอบภายในและการบรรลุเป้าหมาย: หลักฐานเชิงประจักษ์ของสถาบัน อุดมศึกษาในประเทศไทย. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ,1(1), 25-32.

ปรีชยา ท้วมอ้น. (2557). การประเมินผลการดําเนินงานของหน่วยงานตรวจสอบภายในขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทยกรณีศึกษา: หน่วยงานตรวจสอบภายในของเทศบาลนครในภาคกลาง (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรังสิต.

ฝ่ายตรวจสอบภายใน สำนักงานกำกับกิจการพลังงาน. (2566). องค์ความรู้การตรวจสอบภายใน. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2566, จาก https://ia.erc.or.th/index.php/publishdoc/publishdoc-etc/87-2017-07-29-14-22-15

พรรณษา เรือนน้อย, ณัฐนันท์ ฐิติยาปราโมทย์ และสุขเกษม ลางคุลเสน. (2565). คุณลักษณะของผู้ตรวจสอบภายในมืออาชีพที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการตรวจสอบภายใน ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในประเทศ. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(8), 193-202.

พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พุทธศักราช 2561. (2561, 19 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 27. หน้า 1-23.

พระราชบัญญัติองค์การมหาชน พุทธศักราช 2559. (2559, 8 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 133 ตอนที่ 12. หน้า 1-11.

ภัชราภรณ์ จันทร์สว่าง และวิษณุ สุมิตสวรรค์. (2564). ความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจสอบภายในขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดขอนแก่น. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(8), 291-306.

มรกต จันทร์กระพ้อ และกฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2562). การสร้างองค์การแห่งนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนสู่ความเป็นเลิศขององค์การ. วารสารนักบริหาร, 39(1), 52-66.

รมิตา อินใส และ วรวิทย์ เลาหะเมทนี. (2562). ทัศนคติของผู้รับตรวจและปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของการตรวจสอบที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายใน กรณีศึกษา สานักงานสาธารณสุข จังหวัดน่าน. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 1(2), 20-35.

สมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย. (2560). กรอบโครงสร้างการปฏิบัติงานวิชาชีพการตรวจสอบภายใน. กรุงเทพฯ: สมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2566). หลักการและแนวคิด. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2566, จาก https://po.opdc.go.th/content/MTU

สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ. (2566). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ปี 2565-2566 (ฉบับลิขสิทธิ์). สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2566, จาก https://www.tqa.or.th/wp-content/uploads/2022/01/หนังสือเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ-2565-2566-1.pdf

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2557). มาตรฐานการตรวจสอบภายใน. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2566, จาก https://www.senate.go.th/assets/portals/49/news/145/2_6-การนำมาตรฐานมาใช้.pdf

สุรภา ไถ้บ้านกวย, ประชา ตันเสนีย์ และอนุรักษ์ ไกรยุทธ. (2562). บทบาทของผู้ตรวจสอบภายในจากบริษัทหรือบุคคลภายนอกยุคไร้พรมแดน. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2(2), 48-49.

เสาวนีย์ วิมุกตายน, จีราภรณ์ พงศ์พันธุ์พัฒนะ และไพฑูรย์ อินต๊ะขัน. (2562). ผลกระทบของสมรรถนะในการสอบทานงานตรวจสอบภายในที่มีต่อการบรรลุเป้าหมายการตรวจสอบของผู้ตรวจสอบภายในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 13(2), 383-396.

เอกพล ก้อนคำ, ปานฉัตร อาการักษ์ และจิรภา ศักดิ์กิตติมาลัย. (2565). ผลกระทบของมาตรฐานการตรวจสอบภายในต่อประสิทธิภาพการตรวจสอบภายในขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 6(1), 138-153.

Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (2020). The Balanced Scorecard: Translating Strategy into Action. Cambridge, MA: Harvard Business Review Press.

Charan, R., Colvin, G., & Bossidy, L. (2015). The Talent Masters: Why Smart Leaders Put People Before Numbers. Cambridge, MA: Crown Business.

Oakland, J. S., & Oakland, J. (2019). Total Quality Management and Operational Excellence: Text with Cases. London, UK: Routledge.

Kouzes, J. M., & Posner, B. Z. (2017). The Leadership Challenge: How to Make Extraordinary Things Happen in Organizations. London, UK: Wiley.