การพัฒนาผลิตภัณฑ์พายสับปะรด สินค้า OTOP ประเภทอาหาร เพื่อยกระดับมาตรฐาน ห้า ดาว ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์1.เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์พายสับปะรดสินค้า OTOP ประเภทอาหารต้นแบบเพื่อยกระดับมาตรฐาน ห้า ดาว 2.เพื่อออกแบบและ พัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์พายสับปะรด สินค้า OTOP ประเภทอาหารต้นแบบ และ 3.เพื่อทดสอบตลาดและศึกษาระดับการยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์พายสับปะรดสินค้า OTOP กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาระดับการยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์พายสับปะรด จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ในขั้นตอนการสุ่มตัวอย่าง แต่ละบุคคลจากผู้บริโภคที่อยู่ในเขต จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยรวมในการศึกษาวิจัย ซึ่งสถิติที่ใช้เป็นสถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีระดับการยอมรับผลิตภัณฑ์พายสับปะรดโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผู้บริโภคมีระดับการยอมรับบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์พายสับปะรดโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และยอมรับผลิตภัณฑ์พายสับปะรดโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จตุรงค์ เลาหะเพ็ญแสง. (2559). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์จากทุนทางวัฒนธรรม เมืองนครชุม จ. กำแพงเพชร (รายงานวิจัย). สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
จุฑามาศ พีรพัชระ และคณะ. (2559). การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์จากฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องสมุนไพรแปรรูปของกลุ่มสตรีสหกรณ์เกษไชโยจังหวัดอ่างทอง (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2553). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2557). คนเร่งแก้ พ.ร.บ.แข่งขันทางการค้าปรับเกณฑ์อำนาจเหนือตลาด-รับเปิดเสรีอาเซียน. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2561, จาก http://www.prachachat. net/news_ detail.php?newsid=1395921156.
ผจงจิต พิจิตบรรจง. (2558). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพรตะไคร้โดยประยุกต์ใช้เทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ และการออกแบบการทดลอง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 7(1), 4-10.
พวงเกสร วงค์อนุพรกูล. (2552). แนวทางการพัฒนาด้านการตลาดของวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านวัดจันทร์พัฒนาหมู่ที่ 7 ตำบลวัดจันทร์ อำเภอ เมืองจังหวัดพิษณุโลก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
ภคมน โภคะธีรกุล. (2562).แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป. วารสารวิชาการ การ จัดการภาครัฐและเอกชน, 1(2), 5-9.
รุจิระ โรจนประภายนต์ และคณะ. (2562). นโยบายการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 1(2),15-16.
ศศิเพ็ญ พวงสายใจ. (2551). การวิจัยแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขัน เพื่อการส่งออกของชุมชน กรณีศึกษากลุ่มผู้ผลิตน้ำมันงา จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารวิจัย เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 1(1), 46-55.
สดุดี วงศ์เกียรติขจร. (ม.ป.ป.). แนวนโยบายและแผนปฏิบัติการเพื่อพัฒนา ASEAN SMEs. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2561, จาก http://www.itd.or.th/research-article/452-ar
สำนักงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (2561). แผนพัฒนาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (พ.ศ. 2561-2565). สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2561, จาก https://dl.parliament.go.th/handle/20.500.13072/588988
สุนิสา มามาก และคณะ.(2565). การพัฒนาเครื่องดื่มเพื่อจำหน่ายเชิงพาณิชย์แบบร้านหน้าฟาร์มของสหกรณ์โคนมไทย-เดนมาร์คห้วยสัตว์ใหญ่จำกัด. วารสารวิชาการการจัดการภาครัฐและเอกชน, 4(2) ,117-120.
อินทรธนู ฟ้าร่มขาว. (2559). การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมสมัยตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์จากผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาไทย (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Schmidt, J.B. (2005). The Key to Managing Risk During New Product Development. New Jersey: John Wiley & Sons.