ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล ของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตบางกะปิ

Main Article Content

ธนญา ราชแพทยาคม
ศิริรัตน์ ทองมีศรี

บทคัดย่อ

การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตบางกะปิ จำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของโรงเรียน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ  กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครู สำนักงานเขตบางกะปิ สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 233 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบอิสระ (Independent  Samples t-test) และทดสอบค่าแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA)  


ผลการศึกษาพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตบางกะปิ พบว่าโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงไปหาต่ำ ได้แก่ ด้านความเป็นพลเมืองดี ด้านความซื่อสัตย์ ด้านความน่าเคารพนับถือ ด้านความยุติธรรม และด้านความไว้วางใจ  2) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตบางกะปิ จำแนกตามอายุและประสบการณ์ในการทำงาน โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามระดับการศึกษา โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  ส่วนจำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
ราชแพทยาคม ธ., & ทองมีศรี ศ. (2024). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล ของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตบางกะปิ. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 6(1), 117–132. https://doi.org/10.14456/jappm.2024.9
บท
บทความวิจัย

References

HD ร้อนออนไลน์. (2564). โซเซียลระอุแชร์คลิปครูใช้ไม้กวาดตีนักเรียนไม่ยั้ง เหตุไม่เก็บขยะในห้องเรียน. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2565, จาก https://news.ch7.com/detail/470044

กมลชนก ราชสง. (2565). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 (สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

เขษม มหิงสาเดช. (2562). การศึกษาบทบาทการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาระยอง. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย. (2559). เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 12(58), 13-24.

นพรัตน์ อิสระณรงค์พันธ์. (2565). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 (การศึกษาค้นคว้าการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยพะเยา.

พรเพชร พรสยม. (2561). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายลาดใหญ่ จังหวัดสมุทรสงคราม (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. (2553, 22กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 127 ตอนที่ 45ก, หน้า 1-3.

ภาณุวัฒน์ บุญธัญกิจ. (2564). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานครตามทัศนะของผู้บริหารและครู (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ราชวุธ ปญญาวชิโร. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เรื่องเล่าเช้านี้. (2565). ไล่ออกแล้ว 2 ครูทะเลาะตบตีกันต่อหน้าเด็กนักเรียน. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2565, จาก https://www.facebook.com/MorningNewsTV3/p

วิภาวดี อินทร์ด้วง. (2561). ภาวะผู้นําเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 (การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2564). รายงานสถิติการศึกษา ปีการศึกษา 2564. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

Bridges, E.M. (1992). Problem-Based Learning for Administrators. Eugene, Oregon: ERIC Clearinghouse on Educational Management.

Ilomäki, L., & Lakkala, M. (2018). Digital technology and practices for school improvement: innovative digital school model. Research and Practice inTechnology Enhanced Learning, 13(1), 25.