รูปแบบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงบูรณาการหลักพรหมวิหารธรรม เพื่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

สุรัตน์วดี ปานโพธิ์ทอง
สุวิทย์ ภาณุจารี
วีระวัฒน์ พัฒนกุลชัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์3ประการ(1)เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศฯ (2)เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศฯ (3)เพื่อประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงบูรณาการหลักพรหมวิหารธรรมเพื่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร


การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อขยายผลการวิจัยเชิงคุณภาพประชากรที่ใช้ในงานวิจัย โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 205 โรงเรียนผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอน จำนวน 820 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิดคือ1)แบบสอบถามรูปแบบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ(exploratory factor analysis: EFA)วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor analysis: CFA) 2)ประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารเทคโนโลยี
สารสนเทศฯ 4 ด้าน ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงบูรณาการหลักพรหมวิหารธรรมเพื่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานครพบ3องค์ประกอบหลักประกอบไปด้วย การบริหารงานวิชาการ การบริหารสถานศึกษาและหลักพรหมวิหารธรรม รวมทั้งหมด13องค์ประกอบย่อย

  2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คือ1)แนวคิดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการมี4 องค์ประกอบ 2)แนวคิดการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษามี5องค์ประกอบ 3)หลักพรหมวิหารธรรม มี 4 องค์ประกอบ

  3. ผลการประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศฯ สรุปภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 97.18 เมื่อพิจารณาภาพรวมเป็นรายตัวบ่งชี้ พบว่า ตัวบ่งชี้สรุปรวมของรูปแบบด้านที่อยู่ในระดับมากที่สุดเรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านความเหมาะสมของรูปแบบ ด้านความถูกต้องของรูปแบบ ด้านความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ และด้านความเป็นไปได้ของรูปแบบ

    องค์ความรู้/ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ เป็นแนวทางให้ผู้บริหารสถานศึกษาทั่วประเทศใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษาลให้มีประสิทธิภาพต่อไป



Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องนโยบายและมาตรฐานการ พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา.http://bsq.vec.go.th/innovation/policy2_1.html

ธริศร เทียบปาน (2561).การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาในเขตจังหวัดภาคใต้. [ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่].

ปิยนุช สุวรรณนิตย์. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคใต้ตอนบน : Development of Academic Management Model of Basic School Administrators under the Upper South Primary Educational Service Area Office.วารสารสารสนเทศ, 16(2), 123-134.

พัชญ์พิชา จันทา (2563) . แนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา นครนายก . [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี].

ยืน ภู่วรวรรณ. (2555). ไอซีทีเพื่อการศึกษา. ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ยุทธนา เกื้อกูล (2560).การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสร้างผู้เรียนสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์. [ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์].

วิภา ทองหงำ. (2554). รูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร.[ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร].

วัชรศักดิ์ สงค์ปาน. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อบรรลุผลการ ประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคใต้ฝั่งอันดามัน [ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่].

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2542). ศูนย์วิชาการและภูมิปัญญาชาวบ้านกับ การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น. สำนักงานคณะกรรมการการ ประถมศึกษาแห่งชาติ.

Smith, Judith M. 2001. Blended learning: An old friend gets a new name. Executive Update. http://www.gwsae.org/Executiveupdate/ 2001/March/blended.htm

Smith, M. (1971). Educational leadership: Culture and diversity. Athenaeum Press.

Smith, R. H., & Others. (1980). Management: Making organizations perform. Macmillan.

Willer, D. (1986). Scientific sociology: Theory and method. Prentice-Hall.