รูปแบบการโค้ชเชิงบูรณาการด้วยหลักกัลยาณมิตรธรรม ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของการโค้ชเชิงบูรณาการด้วยหลักกัลยาณมิตรธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (2) เพื่อสร้างรูปแบบการโค้ชเชิงบูรณาการด้วยหลักกัลยาณมิตรธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และ (3) เพื่อประเมินและรับรองรูปแบบการโค้ชเชิงบูรณาการด้วยหลักกัลยาณมิตรธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed methods research) กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 993 คน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานบริหารงานบุคคล และหัวหน้ากลุ่มสาระ ได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายและการเลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (exploratory factor analysis: EFA) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor analysis : CFA)
ผลการวิจัยพบว่า (1) การโค้ชเชิงบูรณาการด้วยหลักกัลยาณมิตรธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มี 3 องค์ประกอบหลัก และ 18 องค์ประกอบย่อย (2) ได้รูปแบบการโค้ชเชิงบูรณาการด้วยหลักกัลยาณมิตรธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) หลักการโค้ชและทักษะการโค้ช 2) กระบวนการโค้ช และ 3) หลักกัลยาณมิตรธรรม (CCQ Model) และ (3) รูปแบบการโค้ชเชิงบูรณาการด้วยหลักกัลยาณมิตรธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาผ่านการประเมินและรับรองโดยผู้เชี่ยวชาญละผู้ทรงคุณวุฒิ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ธนัทพัชร์ รชตพงศ์สันต์. (2561). แนวทางการโค้ชชิ่งการปฏิบัติธรรมตามหลักกัลยาณมิตรของวัดพระธรรมกาย (วิทยานิพนธ์พุทธสาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เบญจพร เตชะปรีชาวงศ์. (2564). การบูรณาการหลักพุทธธรรมกับสมรรถนะหลักของโค้ช ICF (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต).มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2558). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิชัย วงษ์ใหญ่; และ มารุต พัฒผล. (2557). การโค้ชเพื่อการรู้คิด. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์.
วาจาสิทธิ์ ลอเสรีวานิช. (2559). โค้ชชิ่งให้ถึงแก่นด้วยเอ็นเนียแกรม. กรุงเทพฯ: สยามเอ็นเนียแกรม คอนซัลดิ้ง.
วาสนา ศรีอัครลาภ. (2559). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการโค้ชทางปัญญาในงานบริหารและบริการของภาครัฐ. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(2), 339-357.
สุวิทย์ ภาณุจารี. (2564). การบริหารจัดการคนเชิงพุทธบูรณาการในองค์กร. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.facebook.com/rcim
สิราวิชญ์ วัชรกาฬ, ณรงค์ พิมสาร และ สิริกาญจน์ ธนวุฒพรพินิจ. (2562). รูปแบบการพัฒนาทักษะการโค้ชสาหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 14(2), 163-177.
อนันต์ กันนาง. (2558). การนิเทศแบบ Coaching. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2565, จาก http://nainut.esdc.go.th/home/kar-nithes-baeb-coaching
Brent, M.; & Dent. F. E. (2015). The Leader’s Guide to Coaching and Mentoring: How to Use Soft Skills to Get Hard Results. London: Pearson.
Costa. A. L.; & Garmstion. R. J. (2002). Cognitive Coaching Foundation Seminar Learning Guide. 5th ed.. Highlands Ranch, CO: Center for Cognitive Coaching.
Henderson, A. (2017).Coaching for education. Retrived Octovber 25, 2021, from https://www.pracha chat.net/education/news-157914
Minski, C.A. (2014). Executive Coaching and Self-Efficacy: A Study of Goal-Setting and Leadership Capacity (Doctoral Dissertation). Fielding Graduate University.
Werner, J. M.; & Desimone, R. L. (2009). Human Resource Development. 5th ed.. Singapore: Thamson Learning.