ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง

Main Article Content

นลกช เกตุพลสังข์
โสภนา สุดสมบูรณ์
สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษา 2) ความเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษา และ 4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง จำนวน 274 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกนจากนั้นสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษา ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
2. ความเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษาในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
3. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษาในภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง (r= .810) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ปัจจัย 4 ปัจจัย ส่งผลต่อความเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษา และร่วมกันทำนายองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษา ได้ร้อยละ 66.90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
องค์ความรู้จากงานวิจัยควรส่งเสริมให้ผู้บริหาร ครูและบุคลากรในโรงเรียนตระหนักถึงความสำคัญของภาวะผู้นำของผู้บริหาร งบประมาณ กฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิทัล รวมถึงเครือข่ายการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อนำไปใช้พัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการองค์กรดิจิทัลของโรงเรียนมีประสิทธิภาพและสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

How to Cite
เกตุพลสังข์ น., สุดสมบูรณ์ โ., & ตันติรจนาวงศ์ ส. . (2024). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 6(1), 47–59. https://doi.org/10.14456/jappm.2024.4
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2562). แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี พ.ศ. 2362-2565. กรุงเทพฯ: ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา.

กสมล ชนะสุข. (2565). การประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

โกศล จิตวิรัตน์. (2564). ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงสู่องค์กรดิจิทัลไทยแลนด์ 4.0 ในศตวรรษที่ 21. Humanities, Social Sciences and arts, 12(6), 73-82.

นิรุตต์ บุตรแสนดี. (2565). การเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัลของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา : การผลิตกำลังคนสมรรถนะสูงแห่งศตวรรษที่ 21. วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษา กรุงเทพมหานคร, 5(1), A-J.

นุช สัทธาฉัตรมงคล และอรรถพล ธรรมไพบูลย์. (2558). ผู้นําการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Transformational leadership in globalization towards sustainable development). วารสารธุรกิจปริทัศน์, 3(1), 167-182.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุรีวิริยสาสน์.

มาลัย วงศ์ฤทัยวัฒนา. (2562). แนวทางการบริหาร โรงเรียนขนาดเล็กยุคดิจิทัลสู่ความเป็นเลิศของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 14(1), 22-30.

มุกดามณี ศรีพงษ์เพริศ. (2561). ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูประถมศึกษา จังหวัดปทุมธานี (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ. (2563). การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลขององค์กรภาครัฐเพื่อยกระดับความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทย. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 18(1), 25-44.

สมศักดิ์ วานิชยาภรณ์ และ นิสรา ใจซื่อ. (2562). การขับเคลื่อนองค์กรดิจิทัลเพื่อก้าวสู่การพัฒนาประเทศไทย 4.0. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 38(3), 78-91.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. กลุ่มนโยบายและแผน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Certo, S. C. & Certo, S. T. (2014). Modern management concepts and skills. 13th Ed. New York: England.

Gupta, R. Seetharaman, A. & Maddulety, K. (2020). Critical success factors influencing the adoption of digitalisation for teaching and learning by business schools. Education and Information Technologies, 25, 3481–3502.

Harrell, S. & Bynum, Y. (2017). Factors affecting technology integration in the classroom. The Alabama Journal of Educational Leadership, 5, 12-18.

Ilomäki, L. & Lakkala. M. (2018). Digital technology and practices for school improvement: Innovative digital school model. Research and Practice in Technology Enhanced Learning, 13(1), 25.

Pedro, F. X. & Teixeira, A. C. (2021). The impact of accelerated digital transformation on educational institutions. Handbook of Research on Developing a Post-Pandemic Paradigm for Virtual Technologies in Higher Education.

Robbins, S.P. & Coulter, M. (2014). Management 12th Ed. England: Pearson Education Limited. Steve Landman.

Russell Reynolds Associates. (2019). Digital transformation: The final chapter. 1-9.

Tungpantong, C., Nilsook, P., & Wannapiroon, P. (2565). A Conceptual Framework of Factors for Information Systems Success to Digital Transformation in Higher Education Institutions. 9th International Conference on Information and Education Technology (ICIET). https://doi.org/10.1109/ iciet51873.2021.9419596