การใช้หลักอปริหานิยธรรมต่อการบริหารงานของเทศบาลเมืองม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

Main Article Content

รัชฎา โชตะชะมา
สิทธิพงษ์ สิทธิภัทรประภา
สุปรีชา ชำนาญพุฒิพร

บทคัดย่อ

การบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นการให้บริการแก่ประชาชน เพื่อประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่ จำเป็นอย่างยิ่งที่บุคลากรต้องมีหลักธรรมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการบริหาร เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บทความวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้หลัก
อปริหานิยธรรมและแนวทางในการพัฒนาของการบริหารงานของตามหลักอปริหานิยมธรรมเทศบาลเมืองม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ประชากร ได้แก่ บุคลากรของเทศบาลเมืองม่วงงาม จำนวน
174 คน ในงานวิจัยนี้ผู้ให้ข้อมูลสำคัญรวม 5 คนเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) การใช้หลักอปริหานิยธรรมต่อการบริหารงานของเทศบาลเมืองม่วงงาม โดยรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 3.96, Ơ = 0.76) โดยด้านการพร้อมเพรียงของการประชุม (µ = 4.14,
Ơ = 0.63) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และ ด้านการสนับสนุนคนมีความสามารถและคุณธรรมเป็นผู้นำ (µ = 3.73,
Ơ = 0.84) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด และ 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารงานตามหลักปริหานยธรรม ได้แก่
(1) เปิดโอกาสให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องได้แสดงความคิดเห็น อธิบาย หรือชี้แจงการปฏิบัติงาน (2) สร้างความตระหนักเกี่ยวกับของความสำคัญการประชุม (3) ทบทวนและประเมินผลการปฏิบัติงานโดยยึดเกณฑ์การปฏิบัติงานที่ชัดเจน (4) ให้เกียรติและยอมรับผู้นำขององค์กร (5) รับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่ายอย่างกัลยาณมิตร (6) ส่งเสริมให้บุคลากรเข้าร่วมการปฏิบัติกิจกรรมกับศาสนสถานอย่างสม่ำเสมอ และ (7) ควรยกย่องบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้วยความมีคุณธรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างขวัญกำลังใจและเป็นตัวอย่างให้กับเพื่อนร่วมงาน

Article Details

How to Cite
โชตะชะมา ร., สิทธิภัทรประภา ส., & ชำนาญพุฒิพร ส. (2024). การใช้หลักอปริหานิยธรรมต่อการบริหารงานของเทศบาลเมืองม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 6(1), 133–147. https://doi.org/10.14456/jappm.2024.10
บท
บทความวิจัย

References

จิรายุ ทรัพย์สิน และคณะ. (2560). รูปแบบการบริหารจัดการปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาลเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน, วารสาร มจร.สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2 ฉบับพิเศษ), 112-132.

ปัณณพงศ์ วงศ์ณาศรี และคณะ. (2561). การบริหารงานโดยการใช้หลักอปริหานิยธรรม 7 และหลักการบริหารภาครัฐแนวใหม่ (NPM.) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 9(1), 49-59.

พระขจรศักดิ์ กิตฺติวุฑฺโฒ. (2562). การบริหารงานตามหลักอปริหานิยธรรมของเทศบาลนครตรัง จังหวัดตรัง. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 2(2), 17-24.

พระคำรณ อติภทฺโท (ทองน้อย) และพระครูนิวิฐศีลขันธ์. (2563). การบริหารจัดการเชิงเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข่าตามหลักอปริหานิยธรรมในเขตเทศบาลตำบลทุ่งน้อย อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร. วารสารวิจัยวิชาการ, 3(2), 27-40.

พระพรหณ์คุณาภรณ์ ป.อ. ปยุตฺโต. (2555). พุทธธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 32). กรุงเทพฯ: คณะระดมธรรมและธรรมสถาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระมหาตั๋ณฐวัฒน์ ธมฺมธีโร, บุญส่ง สินธุ์นอกและ สมเดช นามเกตุ. (2564). แนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักอปริหานิยธรรม 7 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาจังหวัดหนองคาย. Journal of Modern Learning Development, 6(4),255-270.

พระมหาโสภณ กิตฺติโสภโณ. (2562). การประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมในการบริหารขององค์การบริหารส่วนตําบลโคกมน อําเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 2(2),133-142.

Conbach, L. J. (1984). Essential of Psychology and Education. New York: Mc–Graw Hill.

Likert, R.A. (1932). Technique for the Measurement of Attitudes. Arch Psychological, 25(140),1-55.