การมีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จากบัว บนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น ตำบลทับกฤช อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

เจนจิรา เงินจันทร์
สิริกาญจน์ ทวีพิธานันท์
ลักษมี งามมีศรี
มานิตย์ สิงห์ทองชัย
หิรัญ ศรีพินทุศร
ภานุวัตน์ แตงนวลจันทร์

บทคัดย่อ

ปัจจุบันกลุ่มผู้ประกอบการมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของสินค้าและบริการใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่เน้นการพัฒนาชุมชนโดยการรวมกลุ่มเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายการทำกิจกรรมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ปัญหาและสนองตอบความต้องการของชุมชน ซึ่งกระบวนการและแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผู้ประกอบการชุมชน ต้องเริ่มจากการมีส่วนร่วมของสมาชิก และส่งเสริมให้สมาชิกได้มีส่วนร่วมในการจัดทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการดำเนินงานของกลุ่ม บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลทับกฤช อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ และ 2) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากบัว ตำบลทับกฤช อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับความต้องการการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จากบัว และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ กับกลุ่มผู้บริโภคเป็นผู้ที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์จากบัวของตำบลชุมแสงเพื่อการบริโภค หรือเคยซื้อเป็นของฝาก จำนวน 15 คน ดังนั้นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ รวมทั้งสิ้น 30 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการบรรยายเชิงพรรณนา


ผลการศึกษาพบว่า 1) ภูมิปัญญาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์บัว ของตำบลทับกฤช อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ประกอบด้วยความเป็นมาของอาชีพการค้นหา การเก็บ และการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากบัว
ที่สอดคล้องกับลักษณะทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ ภูมิปัญญาจำแนกเป็น 2 ชนิด คือ ภูมิปัญญาการแปรรูปบัว และภูมิปัญญาการทำรากบัวเชื่อม และ 2) การพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ ด้านตราผลิตภัณฑ์สินค้า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ต้องการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ที่มีรายละเอียดข้อความ สี รูปแบบการจัดวางองค์ประกอบลงในตราสินค้าสวยงาม และใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถรักษาคุณภาพสินค้าได้ระยะเวลานาน จัดเก็บได้สะดวก และต้องบรรจุผลิตภัณฑ์ลงไปได้ง่าย ด้านตราสินค้าผู้ประกอบการและผู้บริโภคต้องการตราสินค้าที่สามารถจดจำได้ง่าย มีความครบถ้วนของข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์ และสามารถแจ้งรายละเอียดให้แก่ผู้ซื้อได้เป็นอย่างดี

Article Details

How to Cite
เงินจันทร์ เ., ทวีพิธานันท์ ส., งามมีศรี ล., สิงห์ทองชัย ม., ศรีพินทุศร ห., & แตงนวลจันทร์ ภ. (2023). การมีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จากบัว บนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น ตำบลทับกฤช อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 5(1), 189–204. https://doi.org/10.14456/jappm.2023.13
บท
บทความวิจัย

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2559). แผนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: กองแผนงาน กรมการพัฒนาชุมชน.

กรรณรงค์ บุญเรือง. (2560).การจัดการความรู้สู่การอนุรักษ์ภูมิปัญญาเมี่ยง ตำบลสกาดอำเภอปัว จังหวัดน่าน. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย, 12(1) ,79-87.

จิติยาภรณ เชาวรากุล. (2563). คุณลักษณะของบัณฑิตตามความตองการของสถานประกอบการในศตวรรษที่ 21. HUSO Journal of Humanities and Social Sciences, 4(2),104 - 109.

ทาริกา สระทองคำ. (2565). รูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ตอบสนองความต้องการลูกค้าในยุคอนาคต. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(1), 245 - 247.

เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2554). ภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

นัชชา ทิพเนตร. (2565).การมีส่วนร่วมของประชาชนและรูปแบบการมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบล จังหวัดนครราชสีมา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(8),39.

ปทุมวรรณ ทองตราชู และคณะ .(2565). การออกแบบตราสินค้า และป้ายฉลากผลิตภัณฑ์ข้าวสารของกลุ่มเกษตรกรข้าวสารบ้านท่าแซ ตำบลคลองภู่ตะเภา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 13. 3256 - 3259.

ภิริญาภรณ์ เจริญโรจนปรีชา. (2562). การพัฒนาชุดการสอน เรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (รายงานวิจัย). วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2552). เศรษฐกิจสร้างสรรค์ The Creative Economy. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

ลักษณา เกยุราพันธ์. (2561). รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นกรณีศึกษา :แอำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(2), 75-65.

วิลาสินี ขำพรหมราช. (2564). หีบห่ออาหารในวิถีพื้นบ้านอีสาน กับประเพณี ความเชื่อ และพิธีกรรม. วารสารศิลปกรรมและการออกแบบแห่งเอเชีย, 3(1), 107-118.

วิวัฒน์ จันทร์กิ่งทองและคณะ.(2561).การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และป้ายเครื่องแกงตำมือ บ้านทุ่งชุมพลพัฒนาตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 9 วันที่ 20 กรกฎาคม 2561 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. 1,491-1,505.

สิรวิชญ์ ปิ่นคำ. (2566). การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์มันเทศญี่ปุ่นของชุมชนท่าม่วง ตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 11(1),12.

สิรินภา จงเกษกรณ์. (2564). การพัฒนาการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ในการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ย่านเมืองเก่าภูเก็ต. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ,17(2),24.

สุมาลี ทองรุ่งโรจน์. (2555). Packaging design ออกแบบบรรจุภัณฑ์. กรุงเทพฯ: วาดศิลป์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

อภิชาติ ใจอารีย์. (2557). รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการแปรรูปหน่อไม้ของชุมชน บ้านพุเตยจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารการเมืองการปกครอง, 4(2),158 – 241.

Armstrong, G., & Kotler, P. (2009). Marketing: An introduction (9th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Cohen, J.M. , & Uphoff, N.T. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measure for Project Design Implementation and Evaluation: Rural Development Committee Center for international Studies. New York: Cornell University Press.

Mccathy & Pereault, Jr. (1991). Basic Marketing. New York: Mc Graw-Hill.

Namburi. S. (2019). Innovation and Administration. Journal of Research and Academics, 2(1),183-187.

Prawase Wasi. (1998). Sub-district Civil Society. Bangkok: Matichon Publishing House.