การกล่อมเกลาทางการเมือง ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขของประชาชนในเขตตำบลพะวง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

Main Article Content

ศราวุธ บินหมัดหนี
สิทธิพงษ์ สิทธิภัทรประภา
สุปรีชา ชำนาญพุฒิพร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกล่อมเกลาทางการเมืองและแนวทางการกล่อมเกลาทางการเมืองภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประชาชนในเขตตำบลพะวง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปและมีภูมิลำเนาในเขตเทศบาลตำบลพะวง จำนวน 397 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของทาโร ยามาเน่ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ รวม 5 คนเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) การกล่อมเกลาทางการเมืองภายใต้ระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประชาชนในเขตอำเภอพะวง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านศาสนา ด้านสังคม ด้านครอบครัว ด้านสื่อมวลชน และด้านกลุ่มเพื่อน 2) แนวทางการกล่อมเกลาทางการเมืองภายใต้ระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประชาชนในเขตอำเภอพะวง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ประกอบด้วย (1) ควรเปิดโอกาสให้สมาชิกในครอบครัวได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการเมืองอย่างอิสระและสม่ำเสมอ (2) ควรส่งเสริมให้เยาวชนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางการเมืองผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ในโรงเรียน (3) ควรจัดให้มีเวทีประชาคมของชุมชนเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางการเมือง (4) หน่วยงานทางศาสนาควรจัดกิจกรรมอบรมคุณธรรมจริยธรรม และปลูกผังวิถีประชาธิปไตยอย่างจริงจัง และ (5) หน่วยงานสื่อสารมวลชนควรให้และนำเสนอข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่เป็นความจริงและตรงไปตรงมา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

บรรจง กลิ่นสงวน. (2563). การกล่อมเกลาทางการเมืองและทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พระณัฐพงษ์ ณฏฺฐวํโส (สุดใจ), เติมศักดิ์ ทองอินทร์ และยุทธนา ประณีต. (2565). การกล่อมเกลาทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของเยาวชนหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 7(2), 202-212.

พระทรงวุฒิ รัตนะ. (2564). การกล่อมเกลาทางการเมืองของประชาชนที่มีผลต่อการใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วไปในอำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 4(1), 44-53.

พระมหาสุทธิดล จิตฺตปญฺโญ (ภูนอก) (2565). ปัจจัยทางสังคมที่ส่งผลต่อการกล่อมเกลาทางการเมืองในสังคมไทย. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 9(1), 11-23.

พระศิลาศักดิ์ สุเมโธ. (2562). บทความวิชาการคุณูปการของการพัฒนาทางจิตวิญญาณต่อคฤหัสถ์อาเซียนในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 8(2), 197-209.

วัชรา ไชยสาร. (2545). การเมืองภาคประชาชน : พัฒนาการการมีส่วนร่วมในทางการเมืองประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและพหุการเมือง. กรุงเทพฯ: เมฆขาว.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2559). การเมืองการปกครองไทย พ.ศ.1762-2500. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.

สิทธิพันธ์ พุทธหุน. (2553). ทฤษฎีพัฒนาการเมือง. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Conbach, L. Joseph. (1984). Essential of Psychology and Education. New York: Mc–Graw Hill.

Likert, R.A. (1932, May). Technique for the Measurement of Attitudes. Arch Psychological, 25(140),1-55.