การประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมต่อการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นอย่าง มีประสิทธิภาพขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

ศุภสิทธิ์ ศิริสภาภรณ์
พระมหาเอกกวิน ปิยวีโร
สุปรีชา ชำนาญพุฒิพร

บทคัดย่อ

การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น มีความสำคัญต่อการพัฒนาท้องถิ่นเป็นอย่างมาก ซึ่งสามารถนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ได้ บทความวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้และแนวทางการใช้หลักอปริหานิยธรรมต่อการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากร จำนวน 144 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) การประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมต่อการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x}= 4.53, S.D = 0.52) และทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การสักการะ เคารพ นับถือ บูชาและปกป้องรักษาปูชนียสถาน (gif.latex?\bar{x} = 4.56, S.D = 0.51)  และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ การประชุมหารืออย่างต่อเนื่อง (gif.latex?\bar{x} = 4.50, S.D = 0.52)  และ 2) แนวทางการประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมต่อการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น  ได้แก่ (1) ควรมีการประชุมรับฟังข้อคิดเห็นจากทุกภาคส่วน (2) ทุกคนควรเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง (3) ต้องยึดถือและปฏิบัติตามหลักการและกฎเกณฑ์อย่างจริงจัง (4) เน้นการมีส่วนร่วมของบุคคลทุกฝ่ายในการพัฒนาท้องถิ่น (5) ควรให้เกียรติซึ่งกันและกันระหว่างสมาชิก (6) ควรส่งเสริมการให้เกียรติต่อสถานที่ต่าง ๆ ที่เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชน และ (7) ควรส่งเสริมบุคลากรทุกภาคส่วนให้มีคุณธรรมและมีภาวะผู้นำ      

Article Details

How to Cite
ศิริสภาภรณ์ ศ. ., ปิยวีโร พ., & ชำนาญพุฒิพร ส. (2023). การประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมต่อการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นอย่าง มีประสิทธิภาพขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช . วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 5(3), 131–146. https://doi.org/10.14456/jappm.2023.45
บท
บทความวิจัย

References

จิราภรณ์ สามิบัติ และคณะ. (2560). ประสิทธิผลการนำแผนพัฒนาท้องถิ่นไปสู่การปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 10(2), 79-92.

พระครูศิริโสธร คณารักษ์. (2562). แนวทางการพัฒนาชุมชนเชิงพุทธโดยใช้หลักอปริหานิยธรรมในจังหวัดยโสธร. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(3), 337-349.

พระธีรเดช ธีรเตโช. (2561). การปฏิบัติงานตามหลักอปริหานิยธรรม ของบุคลากรเทศบาลในเขต อําเภอเมือง จังหวัดสงขลา. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 23(2), 109-116.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: เอส.อาร์ พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์.

พระมหายุทธพิชัย สิริชโย และธิติวุฒิ หมั่นมี. (2561). การบริหารงานตามหลักอปหานิยธรรม. วารสารสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 7(2), 140.

พัชร์ศศิ เรืองมณีญาต์. (2565). การประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรม 7 ในการจัดการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จังหวัดระยอง. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 5(5),138-147.

วราภรณ์ ปานะพิพัฒน์. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลในจังหวัดสุราษฏร์ธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 13(1), 340-356.

วิสุทธิ บุญญะโสภิต. (2563). การประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมในการจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล: กรณีศึกษากองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลท่าไม้ อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจยวิชาการ, 3(1), 69-84.

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. (2558). การกระจายอำนาจการปกครองท้องถิ่น: ศึกษากรณีการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในระดับจังหวัด (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ส่วนแผนพัฒนาท้องถิ่น สำนักพัฒนาและส่งเสริมการบริหารงานท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครอง ท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. (2560). คู่มือรวมระเบียบ กฎหมาย และแนวทางปฏิบัติในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.