การจัดการทรัพยากรมนุษย์ผ่านรูปแบบการวินิจฉัยองค์การ ในอุตสาหกรรมภาคตะวันออก

Main Article Content

ดลยา บุญชูวงศ์
อธิธัช สิรวริศรา
ฐิติมา โห้ลำยอง
สุพัตรา ยอดสุรางค์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1)เพื่อศึกษาบริบทการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของภาคตะวันออก (2) เพื่อระบุปัญหาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของภาคตะวันออก และ (3) เพื่อเสนอรูปแบบการการจัดการทรัพยากรมนุษย์ผ่านการวินิจฉัยองค์การโดยเครื่องมือไคเซ็นรูปแบบวัฒนธรรมญี่ปุ่น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน ได้แก่ ผู้บริหาร พนักงาน และนักวินิจฉัยองค์การ ทีมที่ปรึกษาไคเซ็นจากสถาบันไทย-ญี่ปุ่น และการได้องค์ความรู้เก็บรวบรวมข้อมูลจากประสบการณ์ที่ญี่ปุ่นจากผู้ทรงคุณวุฒิ  การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์แก่นสาระ


ผลการวิจัยพบว่า(1)บริบทการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย (1.1) โครงสร้างการสรรหาว่าจ้าง  (1.2) โครงสร้างการพัฒนาบุคลากร (1.3) โครงสร้างการธำรงรักษากลยุทธ์ด้านแรงจูงใจ (1.4) โครงสร้างค่าตอบแทน (1.5) โครงสร้างการปลดเกษียณ (2) ปัญหาการจัดการทรัพยากรมนุษย์โดยผ่านรูปแบบการวินิจฉัยองค์การประกอบด้วย (2.1) การสำรวจเบื้องต้นจากหน้างานจากการจัดทำChecklist  ประกอบด้วย 3 ด้านที่ต้องดำเนินการเร่งด่วนคือ ค่าตอบแทน การธำรงรักษา การพัฒนาบุคลากร (2.2) การพิจารณาวินิจฉัยไม่ครอบคลุม 3 ด้าน คือ ค่าตอบแทน, การธำรงรักษา และการพัฒนาบุคลากร (2.3) การวิเคราะห์สภาพการณ์แท้จริงไม่ได้ลงไปตรวจสอบทันทีเพื่อแก้ไขช่วงเวลาที่เกิดเหตุ (2.4) ค้นหาประเด็นปัญหา จากรายการตรวจเช็คของแต่ละด้านการใช้เครื่องมือแบบสำรวจความพึงพอใจของพนักงาน 3 ด้าน คือ ค่าตอบแทน, ธำรงรักษา และพัฒนาบุคลากร (2.5) การนำเสนอการปรับปรุงไคเซ็นระบุประเด็นการจัดการทรัพยากรมนุษย์หัวข้อที่ต้องปรับปรุงประกอบด้วย 3 ด้าน คือค่าตอบแทน, การธำรงรักษา, และการพัฒนาบุคคลกร  (3) การจัดการทรัพยากรมนุษย์ตามแนวทางไคเซ็นโดยจัดตั้งทีมตามโครงสร้างองค์การเพื่อนำมาปรับปรุงรายการที่พบปัญหาได้แก่ (3.1) ค่าตอบแทนจัดทำแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP: Business Continuity Plan) เปรียบเทียบค่าครองชีพ (3.2) ด้านการธำรงรักษา สร้าง DASHBOARD PROGRAM ความพึงพอใจพนักงาน, ใช้ OKR เป็นตัวชี้วัด (3.3) ด้านการพัฒนาบุคลากร สร้างสื่อการสอนออนไลน์วินิจฉัยองค์การให้แก่องค์การ

Article Details

How to Cite
บุญชูวงศ์ ด., สิรวริศรา อ., โห้ลำยอง ฐ., & ยอดสุรางค์ ส. (2023). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ผ่านรูปแบบการวินิจฉัยองค์การ ในอุตสาหกรรมภาคตะวันออก. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 5(1), 98–112. https://doi.org/10.14456/jappm.2023.7
บท
บทความวิจัย

References

กฤษณา กิมเล่งจิว และ รพีพัฒน์ ศรีศิลารักษ์. (2560). การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ ในภาวะปกติใหม่ของสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรมการผลิตในเขตนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการ มทร.สุวรรณภูมิ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(1),225-248.

กิจจา บานชื่น และ กณิกนันต์ บานชื่น. (2559) หลักการจัดการ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

คะนึง นันทะนะ. (2550). ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2564, จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Checklist

ณัฎฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2563). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

นวลละออง อุทามนตรี และ รชยา อินทนนท์. (2560). บทความการพัฒนาบุคลากร กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารศิลปะสาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 11(1), 25-64.

สำนักงานจังหวัดชลบุรี. (2565). บทความระบบบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก – จังหวัดชลบุรี. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2566, จาก http://osm.chonburi.go.th/systemosm/data_view

หนังสือพิมพ์ประชาชาติ.(2566). บทความ Sustainable Development plus. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.prachachat.net/politics/news-1170311

เปขณางค์ ยอดมณี. (2559). การพัฒนาโมเดลปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถเชิงสร้างสรรค์ของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสาร AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยฟาฏอนี,11(20),61-76.

พิศิษฐ์ จวงตระกูล และ จำเนียร จวงตระกูล. (2563) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์: ทฤษฎีและการปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพ: ซีเอ็ดยูเคชั่น

รัฐพร มาลยพันธุ์. (2565). การประยุกต์ใช้วิธีการเชิงระบบ (Process Approach) กับการดำเนินการให้สอดคล้องตามข้อกำหนด ISO 37001:2016. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2564, จาก http://www.pact. network/2018/06/process-approach-iso-370012016.html

วิจารณ์พานิช. (2552). การศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์: เชาวน์ทางปัญญา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สมิต สัชฌุกร. (2550). การธำรงรักษาบุคลากรที่มีคุณภาพ. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2566,จากhttps://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?pageid=2&bookID=348&read=true

สถาบันไทย-ญี่ปุ่น, (2563). การวินิจฉัยสถานประกอบการ (SHINDAN). สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2566,จาก https://www.tpif.or.th/consult/page.php?p=consult

สุชาติ ไตรภพสกุล และ ชาคริต พัชญางกูร. (2563) การจัดการนวัตกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กานต์ธีรา สืบศรี. (2565). ผลสำรวจเบอรเซอร์. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2566, จาก https://brandage.com/article/33474

สุธาสินี โพธิจันทร์. (2015). คนต้องพร้อม สำหรับองค์กร ยุค 4.0. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2564, จาก chrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://www.ftpi.or.th/wpcontent/ uploads/2018/02/futureskills1-for-I4.pdf

Bratton, J. and Gold, J. (2022). Human Resource Management critical approach: Theory and Practice. London: Bloomsbury Publishing.

Cummings, T.G. and Worley, C.G. (2001). Organization Development and Change. Retrieved 12 February 2023, from https://books.google.co.th/books?id=XZmnPwAACAAJ&source=gbs_ book_other_versions

Deming, W.E. (1993). Quality control.Retrieved 12 February 2021, from https://www2.mtec.or.th/th/e-magazine/admin/upload/262_MT10_41.pdf

Gruman, A., Budworth, M.H. (2022).Positive psychology and human resource management: Building an HR architecture to support human flourishing. Human Resource Management Review,32(3),100911.

Latham, G. and Wexley, K. (1991). Developing and Training Human Resources in Organization. New York: Harper Collins Publishers.

Maslow, A. (1970). Personality Theory. Retrieved 12 February 202, from http://webspace.ship.edu/ cgboer/Maslow.html

Rugpolmuang, S. (2014). Falling can be a Serious Problem for the Elderly. Retrieved 12 February 2023, from https:// /he02.tcithaijo.org/index.php/sirirajmedj/article/ view/245855/167106

Rummler, G.A., Brache, A.P. (1995).Improving Performance: How to Manage the White Space in the Organization Chart. U.S.A.: Montgomery.

Shewhart, W. (1967). Father of statistical quality control. Retrieved 12 February 2021, from https://asq.org/about-asq/honorary-members/shewhart

Swanson, R. A. (2001). Human resource development and its underlying theory. Human Resource Development International, 4(3),299-312.

Ulrich, D., Huselid,M.A. & Becker, B.E. (2001). Proactive management: Theory. New York: John Wiley.

Vrontis, D., Christofi, M., Pereira, V., Tarba, S., Makrides, A., & Trichina, E. (2021). Artificial intelligence, robotics, advanced technologies and human resource management: a systematic review. The International Journal of Human Resource Management, 33(3),1-30.