กลยุทธ์การตลาดและการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ที่มีผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าที่ใช้บริการขนส่งสินค้าทางถนน กรณีศึกษา อุตสาหกรรมอาหารแช่แข็งในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ประการแรกเพื่อศึกษา 1) เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของกลยุทธ์การตลาดและการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของลูกค้าที่ใช้บริการขนส่งสินค้าทางถนน กรณีศึกษา อุตสาหกรรมอาหารแช่แข็งในประเทศไทย 2) เพื่อตรวจสอบสมมติฐานความสัมพันธ์ของกลยุทธ์การตลาดและการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของลูกค้าที่ใช้บริการขนส่งสินค้าทางถนน กรณีศึกษา อุตสาหกรรมอาหารแช่แข็งในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ 500 ราย และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัย และนำมาวิเคราะห์ตัวแบบจำลองสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์
ผลการวิจัยพบว่า 1) กลยุทธ์การตลาดมีผลกระทบทางบวกต่อความพึงพอใจของลูกค้า แต่ไม่มีผลกระทบทางตรงต่อการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ 2) การบริหารลูกค้าสัมพันธ์มีผลกระทบทางบวกต่อความพึงพอใจของลูกค้า และ 3) กลยุทธ์การตลาดส่งผลกระทบทางอ้อมต่อความพึงพอใจของลูกค้าโดยส่งผ่านการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ของลูกค้าที่ใช้บริการขนส่งสินค้าทางถนน กรณีศึกษา อุตสาหกรรมอาหารแช่แข็งในประเทศไทย โดยรูปแบบกลยุทธ์การตลาดและการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ที่มีผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าที่ใช้บริการขนส่งสินค้าทางถนน กรณีศึกษา อุตสาหกรรมอาหารแช่แข็งในประเทศไทยมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในระดับดีมาก (ค่าสถิติ Chi square/df=0.95,P-value=0.65338, RMSEA=0.000, GFI=0.99, AGFI=0.97) ข้อค้นพบใหม่หรือคุณค่าของงานวิจัยนี้ได้เสนอเส้นทางสู่การเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าใช้บริการขนส่งสินค้าทางถนน กรณีศึกษา อุตสาหกรรมอาหารแช่แข็งในประเทศไทย ต้องเริ่มจากการมีกลยุทธ์การตลาดและการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ที่ดี เพื่อสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าในการใช้บริการ และได้การบริการที่ตรงกับความต้องการ ทำให้ลูกค้าพึงพอใจมากขึ้นและทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมลรัตน์ สดวกการ. (2561). พฤติกรรมการตัดสินใจซื้ออาหารแช่แข็งในร้านซีพีเฟรชมาร์ทของผู้บริโภคในเขตฝั่งธนบุรี. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 2(1), 37-46.
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2565). ธุรกิจขนส่งและคลังสินค้าแช่แข็งไทย. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2565, จาก https://www.dbd.go.th/news_view.php?nid=469422426
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2565). แนวโน้มอุตสาหกรรมและขนาดตลาดของธุรกิจอาหาร. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2565, จาก https://bsc.dip.go.th/th/category/quality-control/qs-trendsfoodbusiness
กระทรวงพาณิชย์. (2565). สินค้าส่งออกสำคัญของไทย. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2565, จากhttps://tradereport.moc.go.th/
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2552) สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จีระศักดิ์ คำสุริย์. (2559). เตรียมความพร้อมอุตสาหกรรมอาหารสู่ Industry 4.0. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยอาหาร.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564). สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2565, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570). สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=plan13
Borden, N. H. (1964). The concept of the marketing mix. Journal of Advertising Resarch, 4 (June), 2-7.
Diamantopoulos, A. & Siguaw, J. A. (2000). Introducing LISREL. London: Sage.
Hair, J. F. et al.(2010). Multivariate data analysis. 7th ed. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.
Haryandika, D. M. & Santra, I. K. (2021). The effect of customer relationship management on customer satisfaction and customer loyalty. Indonesia Journal of Business and Entrepreneurship, 7(2), 139-149.
Kotler, P. (2000). Marketing management. New Jersey: Prentric–Hall.
Kumar, P., Mokha, A. K. & Pattnaik, S.C. (2021). Electronic customer relationship management (E-CRM), customer experience and customer satisfaction: Evidence from the banking industry. Benchmarking: An International Journal, 29(2), 551-572.
Lie, D., Sudirman, A., Butarbutar, M. & Efendi, E. (2019). Analysis of mediation effect of consumer satisfaction on the effect of service quality, price and consumer trust on consumer loyalty. International Journal of Scientific & Technology Research, 8(8), 421-428.
McCarthy, E. J. & Perreault, W. D. (1996). Basic marketing: A global managerial approach. (12thed.). Chicago: Irwin.
Rapp, S. & Collins, L. T. (1999). The new maxi marketing. (2nded.). New York: McGraw - Hill.
Schiffman, L. G., & Kanuk, L. L. (2007). Consumer behavior. (9thed.). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.
Surya, A. (2019). Customer loyalty from perspective of marketing mix strategy and customer satisfaction: A study from Grab - Online Transportation in Era of Industrial Revolution 4.0. Journal Ilmaiah Manajemen, 9(3), 394-406.
Tabachnick, B. G. & Fidell, L. S. (2007). Using multivariate statistics. USA: Pearson Education.
Wareewanich, T. et al. (2019). Customer relationship management (CRM) and logistic customer satisfaction. International Journal of Supply Chain Management, 8(2), 211-221.
Yusuf, A. M., Astuti, M. & Ariani, M.B.N. (2022). The effect of digital marketing mix strategy on marketing performance through the implementation of customer relationship management MSME 4.0 DKI Jakarta. International Journal of Business, Technology, and Organizational Behavior (IJBTOB), 2(4), 381-396.