การจัดการโซ่คุณค่าธุรกิจอาหารฮาลาลประเภทอาหารกล่องพร้อมรับประทาน ในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

วิริยา บุญมาเลิศ
บุณยาพร ภู่ทอง
ธันย์ ชัยทร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาการจัดการโซ่คุณค่าธุรกิจอาหารฮาลาลประเภทอาหารกล่องพร้อมรับประทานในกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาลักษณะความคิดเห็นเรื่องการจัดการโซ่คุณค่าธุรกิจอาหารฮาลาลประเภทอาหารกล่องพร้อมรับประทานในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยในการจัดการโซ่คุณค่าธุรกิจอาหารฮาลาลประเภทอาหารกล่องพร้อมรับประทานในกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการโซ่คุณค่าธุรกิจอาหารฮาลาลประเภทอาหารกล่องพร้อมรับประทานในกรุงเทพมหานคร ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งงานวิจัยฉบับนี้ผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง โดยมีแนวคำถามไว้ล่วงหน้าเพื่อเป็นแนวทางในการเก็บข้อมูล และดำเนินการสัมภาษณ์ไปตามลำดับ แต่สามารถปรับเปลี่ยนและเพิ่มเติมบางประเด็นเนื้อหาจากผู้ประกอบการหรือเจ้าของ ผู้จัดการ และ/หรือรองผู้จัดการของร้านอาหารฮาลาลในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 10 คน


ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการโซ่คุณค่าธุรกิจอาหารฮาลาลประเภทอาหารกล่องพร้อมรับประทานในกรุงเทพมหานครตามกิจกรรมหลัก ได้แก่ ด้านการขนส่งวัตถุดิบ ธุรกิจจำเป็นต้องมีฐานผู้ค้าที่มีคุณภาพ การหมุนเวียนการใช้วัตถุดิบ การจัดเก็บวัตถุดิบ ด้านการผลิตสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพของปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต ให้เกิดความรวดเร็วและจัดส่งได้ตรงเวลา
ด้านการบริหารสินค้าคงคลัง มีการตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบ วันหมดอายุ จำนวนวัตถุดิบ สำรวจปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ได้จริง การส่งมอบและการจัดส่งสินค้าที่มีการวางแผนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพด้วยความรวดเร็ว โดยใช้ต้นทุนที่คุ้มค่า ด้านการตลาดและการขายสินค้า สร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างลูกค้าเก่าและสร้างการรับรู้ให้แก่ลูกค้าใหม่ ด้านการให้บริการหลังการขายรับฟังลูกค้า การให้ลูกค้าได้แสดงออกถึงความไม่พอใจ การตอบกลับด้วยเหตุและผล กิจกรรมสนับสนุน ได้แก่ ด้านการจัดซื้อ วัตถุดิบและวัสดุ
อื่น ๆ ในการผลิตอย่างเพียงพอ ด้านการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาองค์กร การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมตามสถานการณ์ต่าง ๆ การสร้างนวัตกรรม ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล วางแผนการใช้ทรัพยากรบุคคล การคัดเลือก การสร้างทรัพยากรบุคคลที่มีทักษะและมีประสิทธิภาพ การพัฒนาฝีมือแรงงาน ด้านโครงสร้างพื้นฐานขององค์กร ผู้ประกอบการจะต้องมีวิสัยทัศน์และนโยบายที่ชัดเจน สามารถปฏิบัติได้จริง

Article Details

How to Cite
บุญมาเลิศ ว., ภู่ทอง บ., & ชัยทร ธ. (2023). การจัดการโซ่คุณค่าธุรกิจอาหารฮาลาลประเภทอาหารกล่องพร้อมรับประทาน ในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 5(2), 122–135. https://doi.org/10.14456/jappm.2023.24
บท
บทความวิจัย

References

เกียรติศักดิ์ เทพผดุงพร. (2563). กิจกรรมจัดทำองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจงานพัฒนาองค์ความรู้สำหรับ SME (Knowledge Center) ปีงบประมาณ 2561 : กรณีศึกษา “กะทิชาวเกาะ” เกษตรแปรรูปเพื่อการส่งออก. กรุงเทพฯ : สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.

จำเริญ เขื่อนแก้ว. (2560). การจัดการโลจิสติกส์สำหรับธุรกิจอาหารฮาลาล. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 11(1), 9-19.

ชาริณี อายุเคน. (2563). กลยุทธ์การตลาดสำหรับร้านอาหารฮาลาล ที่เป็นที่รู้จักในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ฐิติมา วงศ์อินตา และคณะ. (2558). การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าอาหารฮาลาล. วารสารการขนส่งและโลจิสติกส์, 8(1), 1-11.

ตัสนีม หะซัน. (2562). พฤติกรรมและทัศนคติของผู้บริโภคอาหารฮาลาลในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ (สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปิยะพงศ์ เสนีย์รัตนประยูร และคณะ. (2559) กลยุทธ์การจัดการโซ่อุปทานอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลของไทย: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมอาหารทะเล. วารสารหาดใหญ่วิชาการ,14(1), 27-42.

วรญา วิทูวินิต. (2563). อิทธิพลของการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าฮาลาล ในมุมมองของผู้บริโภค Generation ต่าง ๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). วิทยาลัยดุสิตธานี.

วรัญญา แก้วเชือกหนัง. (2561). แนวทางการพัฒนาระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชนในการเพิ่มมูลค่าการจำหน่ายสินค้าออนไลน์ประเภทสินค้าอาหารกล่องเพื่อสุขภาพพร้อมรับประทาน (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

วินัย ดะห์ลัน. (2558). ทำเนียบร้านอาหารฮาลาลและร้านอาหารมุสลิมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. (2564). มาตรฐานอาหารฮาลาลแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2565, จาก https://www.acfs.go.th/halal/general.php.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2547). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ: การวิจัยปัญหาปัจจุบันและการวิจัยอนาคตกาล. กรุงเทพฯ: สามลดา.

สุภางค์ จันทวานิช. (2549). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อำไพภรณ์ เปรมอำพล. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่มีตราฮาลาลของผู้บริโภค ในเขตพื้นที่หนองจอกกรุงเทพมหานคร (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก.

Kaplinsky, R. & Morris, M. (2000). A handbook for value chain research. Canada: IDRC.

Kotler, P. (1997). Marketing management: Analysis, planning implementation and control. (9thed).New Jersey: Asimmon & Schuster.

Porter, M. E. (1985). Competitive Strategy: Techniques for Analyzing Industries and Competitors.New York: Free Press.

Shafie, S., & Othman, M. N. (2006). Halal Certification: International Marketing Issues and Challenges. Paper Presented At The Ifsa Vii World Congress Berlin, Germany.