การพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิกเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กรของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1

Main Article Content

เนตรนภิส ลอยบ้านแพ้ว
สมใจ สืบเสาะ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างสื่ออินโฟกราฟิกเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กรของโรงเรียนบ้านคั่นกระได สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 และ 2) เปรียบเทียบการรับรู้ภาพลักษณ์องค์กรของโรงเรียนบ้านคั่นกระได 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้รับสื่ออินโฟกราฟิกเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กรของโรงเรียนบ้านคั่นกระได สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียน และผู้ปกครอง โรงเรียนบ้านคั่นกระได โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นกลุ่มทดลองจำนวน 45 คน โดยแบ่งเป็นการทดลองรายบุคคล 3 คน ทดลองกลุ่มย่อย 12 คน และทดลองกลุ่มใหญ่ 30 คน เพื่อหาประสิทธิภาพของสื่ออินโฟกราฟิก และการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อสื่ออินโฟกราฟิก ครู คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียน และผู้ปกครองโรงเรียนบ้านคั่นกระได ปีการศึกษา 2565  กำหนดกลุ่มทดลองโดยการสุ่มอย่างง่าย เลือกแบบเจาะจงจำนวน 45 คน แบ่งทดลองรายบุคคลจำนวน 3 คน ทดลองกลุ่มย่อยจำนวน 12 คน ทดลองกลุ่มใหญ่จำนวน 30 คน กำหนดขนาดตัวอย่างใช้สูตรเครซี่มอร์แกนจำนวน 196 คน ทำการสุ่มอย่างง่ายประเมินความพึงพอใจต่อการรับรู้สื่ออินโฟกราฟิก เครื่องมือวิจัยมี 4 ชนิด  วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติค่าที  ผลการวิจัยพบว่า


  1. สื่ออินโฟกราฟิกเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กรของโรงเรียนบ้านคั่นกระได สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 มีคุณภาพความเหมาะสมในระดับมากที่สุด

  2. การเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ภาพลักษณ์องค์กร หลังการรับรู้สื่อสูงกว่าก่อนการรับรู้สื่ออินโฟกราฟิก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 5

  3. ความพึงพอใจของผู้รับรู้สื่อต่อสื่ออินโฟกราฟิกที่พัฒนาขึ้น ในภาพรวมอยู่ระดับพึงพอใจมากที่สุด

นวัตกรรมที่ได้จากงานวิจัยนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อโรงเรียนบ้านคั่นกระได เพื่อใช้ในการส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กรของโรงเรียนบ้านคั่นกระได และใช้วางแผนการกำหนดทิศทางในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้เกิดขึ้นต่อไป

Article Details

How to Cite
ลอยบ้านแพ้ว เ., & สืบเสาะ ส. (2024). การพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิกเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กรของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 6(1), 60–73. https://doi.org/10.14456/jappm.2024.5
บท
บทความวิจัย

References

จงรัก เทศนา. (2556). อินโฟกราฟิกส์ (Infographics). สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2565, จาก http://www.krujongrak.com /infographics /infographics_information.pdf

ชนัญชิดา คำมินเศก. (2553).การรับรู้สื่อรณรงค์ Quit Line 1600 สายเลิกบุหรี่ และความคิดเห็นของข้าราชการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ธัญญ์ธชนม์ สุขเสงี่ยม และกุลกนิษฐ์ ทองเงา. (2564). การผลิตสื่ออินโฟกราฟิกผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Facebook) เพื่อส่งเสริมการรับรู้ภารกิจและภาพลักษณ์กระทรวงกลาโหม. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 20(2),102-113.

ปาณิสรา ศิลาพล และกอบสุข คงมนัส. (2563). ผลการใช้อินโฟกราฟิกร่วมกับกระบวนการเรียนแบบสืบเสาะที่มีต่อความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน, 10(2), 185-194.

ปิยพงษ์ ราศี และนฤมล เทพนวล (2561). การพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิก วิชาเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้นสาหรับนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 8(2), 284-290.

วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์. (2545). ภาพลักษณ์ของโรงเรียน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมใจ สืบเสาะ (2564). การสร้างสื่อโปสเตอร์อินโฟกราฟิกเพื่อป้องกันการกลั่นแกล้งในโลกไซเบอร์ของวัยรุ่นไทย. วารสารศิลปการจัดการ, 6(3),1555-1569.

สมใจ สืบเสาะ และกุลกนิษฐ์ ทองเงา. (2565). การสร้างสื่อโปสเตอร์อินโฟกราฟิกเพื่อป้องกันการกลั่นแกล้งในโลกไซเบอร์ของวัยรุ่นไทย.วารสารศิลปะการจัดการ, 6(3), 10-13.

Kotler, P. (2000). Marketing Management. Upper Saddle River NJ: Prentice Hall.

Krejcie, R.V., & Morgan D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Education and Psychology Measurement, 30(3), 607-608.

Wang, K. (2012). Infographic & Data Visualizations. Mobile handset manufacturers: DesignMedia Publishing Limited.