แนวทางการบริหารงานกิจการนักเรียนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1

Main Article Content

ลลิตา นพรัตน์เขต
สมใจ สืบเสาะ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานกิจการนักเรียน 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นการบริหารงานกิจการนักเรียน และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารงานกิจการนักเรียนสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 รูปแบบการวิจัยเป็นวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดการบริหารงานกิจการนักเรียนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 301 คน ใช้วิธีคัดเลือกขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครซี่ มอร์แกน และใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบประเมินความเหมาะสมของแนวทาง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการบริหารงานกิจการนักเรียน โดยภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยของการดำเนินการจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านงานกิจกรรมนักเรียน ด้านงานปกครอง และด้านงานบริการแนะแนว
2. การเปรียบเทียบการบริหารงานกิจการนักเรียน จำแนกตามประสบการณ์ทำงาน ด้านงานปกครอง ด้านงานกิจกรรมนักเรียน และด้านงานบริการแนะแนว ซึ่งประสบการณ์ทำงาน 10 - 20 ปี
กับประสบการณ์มากกว่า 20 ปี และขนาดสถานศึกษา โดยภาพรวมโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนขนาดกลางแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. แนวทางการบริหารงานกิจการนักเรียน โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับความเหมาะสมมาก
องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้เป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารและหน่วยงานการศึกษา สามารถนำไปใช้วางแผน และการบริหารงานกิจการนักเรียนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
นพรัตน์เขต ล., & สืบเสาะ ส. (2024). แนวทางการบริหารงานกิจการนักเรียนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 6(1), 279–293. https://doi.org/10.14456/jappm.2024.20
บท
บทความวิจัย

References

กมลศิษฐ์ ชลมนัสสรณ์. (2562). สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานกิจการนักเรียนโรงเรียนจักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35 (วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยพะเยา.

โฉมฉาย กาศโอสถ. (2554). รูปแบบการบริหารกิจการนักเรียนแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาระดับ ประถมศึกษา สังกัดสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ดนตรี บุญลี. (2546). สภาพการปฏิบัติงานกิจการนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

ธิดา อ่วงตระกูล. (2552). การบริหารงานกิจการนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเชียงของ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

พนัส หันนาคินทร์. (2524). หลักการบริหารโรงเรียน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (2542) แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) (2553, 22 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 127 ตอนที่ 45ก, หน้า 1-3.

สวภพ เทพกสิกุล. (2559). แนวทางการบริหารกิจการนักเรียนตามแนวคิดการเสริมสร้างความยึดมั่น ผูกพัน ระหว่างโรงเรียน ครอบครัวและชุมชนของโรงเรียนมัธยมศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรทัย อัชฌานุเคราะห์. (2543). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดตราด (วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.